Page 120 - Land Use Plan of Thailand
P. 120

4-2


























































                  รูปที่4-1ต าแหน่งร่องความกดอากาศต่ า ทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อน

                  ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2560ก)
                        ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะ

                  ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้นภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝน
                  หนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่ง
                  ตะวันตกอย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เกณฑ์การ

                  พิจารณาปริมาณฝนในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ของวันหนึ่ง ถึงเวลา
                  07.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ตามลักษณะของฝนที่ตกในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนย่านมรสุมมีดังนี้

                                  ฝนวัดจ านวนไม่ได้ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร
                                  ฝนเล็กน้อยปริมาณฝนระหว่าง 0.1 - 10.0 มิลลิเมตร
                                  ฝนปานกลางปริมาณฝนระหว่าง 10.1 - 35.0 มิลลิเมตร

                                  ฝนหนักปริมาณฝนระหว่าง 35.1 - 90.0 มิลลิเมตร
                                  ฝนหนักมากปริมาณฝนตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไป
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125