Page 119 - Land Use Plan of Thailand
P. 119

4-1


                                                         บทที่ 4

                             การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติของประเทศไทย


                  4.1  สภาพภูมิอากาศ

                        ภูมิอากาศของประเทศไทยได้รับอิทธิพลหรือปัจจัยส าคัญจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมี

                  แหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจาก
                  ศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรมรสุมนี้
                  จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ท าให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไปโดยเฉพาะ
                  อย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น หลังจากอิทธิพลของ

                  มรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้วประมาณกลางเดือนตุลาคม มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทย
                  จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบ
                  ประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย
                  ท าให้ท้องฟ้าโปร่งอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไปโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเนื่องจากมรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทย
                  เข้ามาปกคลุมการเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี (รูปที่4-1)
                        4.1.1   ฤดูกาล
                                จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือท าให้แบ่ง

                  ฤดูกาลของประเทศไทยเป็น 3 ฤดูคือ
                                1) ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วง
                  เปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหา

                  ดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน
                  ท าให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไปในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไป
                  จะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่อาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทย
                  ตอนบน ท าให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย
                  ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้า

                  คะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพายุฤดูร้อน ลักษณะอากาศในฤดูร้อนพิจารณาจากอุณหภูมิ
                  สูงสุดของแต่ละวันโดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
                                  อากาศร้อนอุณหภูมิระหว่าง 35.0 - 39.9 องศาเซลเซียส

                                  อากาศร้อนจัดอุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป
                                2) ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม
                  ประเทศไทยและร่องความกดอากาศต่ าพาดผ่านประเทศไทย ท าให้มีฝนชุกทั่วไปร่องความกดอากาศต่ า
                  นี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคมแล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามล าดับ จนถึงช่วงประมาณ

                  ปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ท าให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง
                  และเรียกว่าฝนทิ้งช่วงซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อย
                  นานนับเดือน เดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ าจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณ
                  ประเทศไทยอีกครั้ง ท าให้มีฝนชุกต่อเนื่องจนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุม

                  ประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124