Page 124 - Land Use Plan of Thailand
P. 124

4-6


                        4.1.4  ความชื้นสัมพัทธ์
                               ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี
                  โดยเฉพาะเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าสุดในรอบปี คือ มีความชื้นสัมพัทธ์ตลอดปี

                  ประมาณ 68.1 เปอร์เซ็นต์ และในเดือนกันยายนจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด โดยมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย
                  ตลอดปี ประมาณ 82.5เปอร์เซ็นต์(ตารางที่ 4-3)

                  ตารางที่ 4-3สถิติความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในคาบ 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2531- 2560 (เปอร์เซ็นต์) ของประเทศไทย

                                                       ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย (เปอร์เซ็นต์)
                         ภาค
                                         ฤดูหนาว         ฤดูร้อน       ฤดูฝน             ตลอดปี

                  เหนือ                    74              63            81                73
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ       69              66            80                72
                  กลาง                     70              68            78                73

                  ตะวันออก                 71              75            81                76
                  ใต้
                     ฝั่งตะวันออก          81              78            79                79
                     ฝั่งตะวันตก           78              77            84                80
                  ที่มา: ดัดแปลงจากข้อมูลดิจิตอล กรมอุตุนิยมวิทยา (2560)


                  4.2  สมดุลของน้่าในประเทศไทย


                        เป็นการวิเคราะห์หาช่วงฤดูกาลเพาะปลูกที่เหมาะสม และช่วงระยะเวลาที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ า
                  ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชเมื่อจัดหาน้ าให้พืชได้ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่น ามาวิเคราะห์ คือ ปริมาณน้ าฝน
                  ค่าปริมาณการใช้น้ าของพืชอ้างอิง (ETo) จากสถานีตรวจวัดอากาศซึ่งเป็นตัวแทนแต่ละภูมิภาคของ
                  ประเทศได้แก่ ภาคเหนือ (เชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคกลาง  (กรุงเทพ) ภาค

                  ตะวันออก (ชลบุรี) ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) และภาคใต้ (สงขลา) ช่วงระยะเวลา 30 ปี
                  (พ.ศ. 2531-2560) จากการวิเคราะห์สามารถสรุปสมดุลของน้ าเพื่อการเกษตรของประเทศไทยได้ดังนี้
                  (รูปที่ 4-3)

                        1)     ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช คือ ช่วงฝนเริ่มตกจนกระทั่งฝนใกล้หมดซึ่งมี
                  ความชื้นในดินพอเหมาะต่อการปลูกพืช ช่วงระยะเวลานี้เริ่มตั้งแต่ประมาณต้นเดือนเมษายนถึงปลาย

                  เดือนตุลาคม ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันตก
                  จะเริ่มตั้งแต่ประมาณต้นเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน และภาคใต้จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ
                  ต้นเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมกราคมของปีถัดไป

                        2)     ช่วงระยะเวลาที่มีน้ าฝนมากเกินพอ คือ ช่วงฝนตกชุกมีความชื้นสูง ความชื้นในดินสูงและ
                  อาจมากเกินความต้องการของพืช พืชที่ปลูกในที่ราบต่ า และดินมีการระบายน้ าเลว อาจประสบปัญหา

                  น้ าท่วมเสียหายได้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่น ช่วงระยะเวลานี้ เริ่ม
                  ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนตุลาคม ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
                  และภาคตะวันตก ส่วนภาคตะวันออกจะเริ่มตั้งแต่ประมาณต้นเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม และ

                  ภาคใต้จะเริ่มตั้งแต่ประมาณต้นเดือนกันยายนถึงปลายเดือนธันวาคม
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129