Page 115 - Land Use Plan of Thailand
P. 115

3-47





                  ใน พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ ในขณะที่ภาคกลางเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด โดยเพิ่มมาจากพื้นที่พืชไร่

                  พื้นที่ไม้ผล และพื้นที่เบ็ดเตล็ดใน พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ

                                   (4)  พื้นที่ไม้ผล มีเนื้อที่ลดลงประมาณ 2.46 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 19.38 ของ
                  เนื้อที่เดิม โดยพบว่าลดลงโดยเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ไม้ยืนต้นใน พ.ศ. 2553-2556 มากที่สุด รองลงมาได้แก่
                  เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่พืชไร่ และพื้นที่ชุมชนตามล้าดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่าภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ไม้ผลลดลงมากที่สุด โดยเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่พืชไร่ ไม้ยืนต้น และพื้นที่

                  ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างตามล้าดับ รองลงมาได้แก่ ภาคกลางลดลงเป็นอันดับสอง โดยเปลี่ยนแปลงไป
                  เป็นพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่พืชไร่ ไม้ยืนต้น พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
                  และพื้นที่เบ็ดเตล็ดใน พ.ศ. 2553-2556 ภาคใต้ พื้นที่ปลูกไม้ผลลดลงโดยเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม้ยืนต้น

                  มากที่สุด รองลงมาได้แก่พื้นที่ชุมชน และพื้นที่เบ็ดเตล็ดใน พ.ศ. 2553-2556 ตามล้าดับ และภาค
                  ตะวันออก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่ไม้ยืนต้น พืชไร่ และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างใน
                  พ.ศ. 2553-2556 ตามล้าดับ ในขณะที่ภาคเหนือพบว่ามีพื้นที่ปลูกไม้ผลเพิ่มขึ้น

                                   (5)  พื้นที่พืชไร่หมุนเวียน มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.52 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นเป็น
                  ร้อยละ 53.76 ของเนื้อที่เดิมโดยเปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด พบในภาคเหนือ

                                   (6)  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า ในภาพรวมมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 3,145 ไร่ หรือ

                  เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 ของเนื้อที่เดิม โดยเพิ่มมาจากพื้นที่นาข้าวมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้น
                  ภาคกลาง และภาคใต้ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีเนื้อที่สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้าเพิ่มขึ้น
                  มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออก และภาคเหนือตามล้าดับ

                                   (7)  พื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ในภาพรวมมีเนื้อที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 0.60 ล้านไร่ หรือ
                  เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.42ของเนื้อที่เดิม ภาคเหนือมีพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่

                  ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ในขณะที่ภาคใต้มีเนื้อที่ลดลง

                               3)  พื้นที่ป่าไม้ ในภาพรวมมีเนื้อที่ลดลง 11.66 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 ของเนื้อที่
                  เดิม โดยพบว่าภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่ลดลงมากที่สุด โดยพบว่าเปลี่ยนไป
                  เป็นพื้นที่พืชไร่และไม้ยืนต้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ตามล้าดับ

                               4)  พื้นที่แหล่งน้้า ในภาพรวมมีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 1.25 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.73

                  ของเนื้อที่เดิม โดยพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่แหล่งน้้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่
                  ภาคเหนือ

                               5)  พื้นที่เบ็ดเตล็ด ในภาพรวมมีพื้นที่ลดลง 1.47 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 12.75 ของเนื้อที่
                  เดิม โดยพบว่าภาคเหนือ มีพื้นที่เบ็ดเตล็ดลดลงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ และภาคตะวันออก ในขณะที่
                  พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120