Page 114 - Land Use Plan of Thailand
P. 114

3-46





                        การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินเมื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2549-2550 และ

                  พ.ศ. 2558-2559 โดยเมื่อพิจารณาพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินที่ดังนี้

                               1)  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 3.08 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73
                  โดยพบว่าภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่เพิ่มมากขึ้นมากที่สุด แต่ในภาคตะวันออกแม้จะมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นน้อย
                  แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างของภาคตะวันออกใน พ.ศ. 2549 พบว่ามีพื้นที่ชุมชนและ
                  สิ่งปลูกสร้างเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับสองรองจากภาคกลาง อันเนื่องมาจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัย โรงงาน

                  อุตสาหกรรม

                               2)  พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8.80 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21
                  ของเนื้อที่เดิม โดยเมื่อพิจารณาแยกตามประเภทของการใช้ที่เพื่อการเกษตรกรรมแบบต่างๆ พบว่า

                                   (1)  พื้นที่นาข้าว รวมทั้งนาร้างและนาข้าว มีเนื้อที่ลดลง ประมาณ 5.10 ล้านไร่
                  หรือลดลงร้อยละ 6.42 ของเนื้อที่เดิมโดยพบว่าพื้นที่นาข้าวใน พ.ศ. 2549-2550 มีการเปลี่ยนแปลงเป็น

                  พื้นที่ปลูกพืชไร่ใน พ.ศ. 2558-2559 เช่น อ้อย ข้าวโพด มันส้าปะหลัง รองลงมาได้แก่เปลี่ยนแปลงไป
                  เป็นพื้นที่ไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้้ามัน ยางพาราและพื้นที่เบ็ดเตล็ด ตามล้าดับ แต่เมื่อพิจารณาเป็น
                  รายภาคพบว่าภาคใต้พื้นที่นาข้าวลดลงมากที่สุด โดยเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ไม้ยืนต้น รองลงมาได้แก่
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่าพื้นที่นาข้าวมีการเปลี่ยนแปลงเป็นพืชไร่ ไม้ยืนต้น และพื้นที่เบ็ดเตล็ด

                  ในขณะที่ภาคกลางพบว่าพื้นที่นาข้าวพื้นที่พืชไร่พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ภาค
                  ตะวันออก พื้นที่นาข้าวเปลี่ยนไปเป็นไม้ยืนต้น พืชไร่ และสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า ภาคเหนือ พื้นที่นาข้าว
                  เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่พืชไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ด

                                   (2)  พื้นที่พืชไร่ ในภาพรวมมีเนื้อเพิ่มขึ้นประมาณ 1.23 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
                  3.08 ของเนื้อที่เดิมโดยพบว่าเปลี่ยนแปลงมากจากพื้นที่นาข้าวใน พ.ศ. 2549–2550 มากที่สุด รองลงมาได้แก่

                  พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ปาล์มน้้ามัน และยูคาลิปตัส ตามล้าดับ เนื่องมาจากการปลูก
                  ทดแทนไม้ยืนต้นที่ถูกตัด หรือหมดอายุการใช้งานแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่าพื้นที่ภาคเหนือมีพื้นที่พืช
                  ไร่เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นมาจากพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่นาข้าว และพื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ภาคกลางมีพื้นที่พืช

                  ไร่เพิ่มขึ้นรองลงมา โดยเพิ่มมาจากพื้นที่นาข้าวใน พ.ศ. 2549-2550 มากที่สุด รองลงมาได้แก่ พื้นที่เบ็ดเตล็ด
                  และพื้นที่ป่า ตามล้าดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้พื้นที่พืชไร่ลดลง

                                   (3)  พื้นที่ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 13.03 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.67
                  ของเนื้อที่เดิม โดยพบว่าเปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่พืชไร่มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่
                  นาข้าว และพื้นที่ป่าไม้ใน พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มมาจากพื้นที่พืชไร่ รองลงมาได้แก่พื้นที่นาข้าว
                  และพื้นที่ป่าไม้ในปี พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ รองลงมาได้แก่ภาคใต้มีมีพื้นที่ไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ
                  สอง โดยเพิ่มขึ้นมาจากพื้นที่นาข้าว พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เบ็ดเตล็ดใน พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ
                  รองลงมาได้แก่ภาคเหนือ โดยเพิ่มมากจากพื้นที่พืชไร่ พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เบ็ดเตล็ดใน
                  พ.ศ. 2549-2550 ตามล้าดับ และภาคตะวันออก ซึ่งเพิ่มมาจากพื้นที่พืชไร่ พื้นที่ไม้ผล และพื้นที่นาข้าว
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119