Page 109 - Land Use Plan of Thailand
P. 109

3-41





                                       -  ล้าไย มีเนื้อที่ประมาณ 1.86 ล้านไร่ โดยภาคเหนือ มีเนื้อที่เพาะปลูกมาก

                  ที่สุด แหล่งเพาะปลูกที่ส้าคัญ คือ จังหวัดเชียงใหม่ ล้าพูน และเชียงราย รองลงมาได้แก่ภาคตะวันออก
                  แหล่งเพาะปลูกที่ส้าคัญ คือ จังหวัดจันทบุรี และสระแก้ว และในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่ง
                  เพาะปลูกที่ส้าคัญ คือ จังหวัดเลย

                                       -  มะพร้าว มีเนื้อที่ประมาณ 1.25 ล้านไร่ โดยภาคกลาง มีเนื้อที่เพาะปลูก
                  มากที่สุด แหล่งเพาะปลูกที่ส้าคัญ คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และสมุทรสงคราม รองลงมาได้แก่
                  ภาคใต้ แหล่งเพาะปลูกที่ส้าคัญ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร และใน
                  ภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี ตราด และระยอง
                                   (5)  พื้นที่ไร่หมุนเวียน มีเนื้อที่ 4,333,190 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.35 ของเนื้อที่

                  ประเทศ โดยเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ กะหล่้าปลี บนที่สูงซึ่งจะมีการพักแปลง
                  ปลูกไว้ 3-6 ปี เพื่อให้พื้นดินฟื้นตัวตามธรรมชาติ จึงจะย้อนกลับมาท้าการเพาะปลูกใหม่ภาคเหนือเป็น
                  ภาคทีมีเนื้อที่ไร่หมุนเวียนมากที่สุด 4,328,655 ไร่ รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,427 ไร่

                  และภาคกลาง 108 ไร่
                                   (6)  พื้นที่สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า มีเนื้อที่ 2,680,772 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ
                  0.84 ของเนื้อที่ประเทศ ภาคกลางเป็นภาคที่มีสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้ามากที่สุด 1,193,033 ไร่
                  รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออก 789,431 ไร่ และภาคเหนือเป็นภาคที่มีสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้าน้อยที่สุด

                  ประมาณ 82,898 ไร่
                                   (7)  พื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ได้แก่ พืชสวน ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ พืชน้้า
                  และพื้นที่เกษตรผสมผสาน มีเนื้อที่ 1,916,371 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.60 ของเนื้อที่ประเทศ ภาคกลาง
                  เป็นภาคที่มีพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ มากที่สุด 740,683 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 552,290

                  ไร่ และภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ น้อยที่สุดประมาณ 33,610 ไร่
                               3)  พื้นที่ป่าไม้
                                   พื้นที่ป่าไม้ เป็นประเภทการใช้ที่ดินที่มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ 2 โดยจากการส้ารวจ
                  พ.ศ. 2558 – 2559 พบว่ามีเนื้อที่ 105,846,356 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 33.00 ของเนื้อที่ประเทศ พบว่าใน

                  ภาคเหนือมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด 55,540,824 ไร่ รองลงมาได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18,467,743 ไร่
                  และภาคตะวันออกมีพื้นที่ป่าไม้น้อยที่สุดประมาณ 4,856,741 ไร่
                               4)  พื้นที่แหล่งน้้า

                                   พื้นที่แหล่งน้้า มีเนื้อที่ 9,181,526 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.86 ของเนื้อที่ประเทศ
                  พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่แหล่งน้้ามากที่สุด 3,685,570 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคใต้
                  1,787,301 ไร่ และภาคตะวันออกมีพื้นที่แหล่งน้้าน้อยที่สุด ประมาณ 609,751 ไร่
                               5)  พื้นที่เบ็ดเตล็ด
                                   พื้นที่เบ็ดเตล็ด หมายถึง ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ไม้ละเมาะ เหมือง ที่ทิ้งขยะ นาเกลือ

                  หาดทราย และพื้นที่ถม มีเนื้อที่ 10,060,832 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 3.13 ของเนื้อที่ประเทศ พบว่าใน
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เบ็ดเตล็ดมากที่สุด 4,762,649 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ 1,639,551 ไร่
                  และภาคตะวันออกมีพื้นที่เบ็ดเตล็ดน้อยที่สุด ประมาณ 847,524 ไร่
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114