Page 107 - Land Use Plan of Thailand
P. 107

3-39





                  3.4  สภาพการใช้ที่ดิน

                        3.4.1  สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน
                               จากการส้ารวจและจัดท้าแผนที่การใช้ที่ดินของประเทศไทยใน พ.ศ. 2558 – 2559 โดย

                  ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมรายละเอียดสูง ได้แก่ เช่น ดาวเทียมไทยโชติ ดาวเทียมสปอต (SPOT) จากส้านัก
                  พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และข้อมูลจากดาวเทียมส้ารวจ
                  ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เช่น LANDSAT 8 ระบบโอเพอร์เรชันแนล แลนด์ อิมเมเจอร์ (LANDSAT8
                  Operational Land Imager : OLI) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบหา
                  พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ท้าการก้าหนดจุดส้ารวจ และท้าการตรวจสอบข้อมูลในภาคสนาม

                  จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจัดท้าแผนที่การใช้ที่ดิน และค้านวณเนื้อที่การใช้ที่ดินประเภท
                  ต่างๆ เป็นรายจังหวัด และท้าการถ่วงน้้าหนักกับเนื้อที่ประเทศไทยจากกรมแผนที่ทหาร (2521) พบว่า
                  ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 320,696,893 ไร่ สามารถแบ่งตามสภาพการใช้ที่ดินหลักได้

                  5 ประเภท (รูปที่ 3-4 และตารางที่ 3-10 )

                               1)  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
                                   พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 17,918,984 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.59
                  ของเนื้อที่ประเทศ พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด 5,737,864
                  ไร่ และภาคตะวันออกมีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างน้อยที่สุด1,781,508 ไร่แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ

                  กับพื้นที่ของแต่ละภาค พบว่าภาคกลางมีความหนาแน่นของพื้นที่ชุมชนม ากที่สุด
                  เมื่อเปรียบกับเนื้อที่ทั้งหมดของภาค โดยมีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างคิดเป็นร้อยละ 10.08ของเนื้อที่
                  ซึ่งจะกระจุกรวมตัวกันบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล รองลงมาได้แก่ พื้นที่ภาคตะวันออกมีพื้นที่ชุมชน
                  และสิ่งปลูกสร้างคิดเป็นร้อยละ 8.29 ของเนื้อที่ และภาคเหนือเป็นภาคที่มีหนาแน่นของพื้นที่ชุมชนและ

                  สิ่งปลูกสร้างน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของเนื้อที่

                               2)  พื้นที่เกษตรกรรม
                                   พื้นที่เกษตรกรรมเป็นประเภทการใช้ที่ดินที่มีเนื้อที่มากที่สุด โดยมีเนื้อที่
                  177,689,195 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 55.42 ของเนื้อที่ประเทศ พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี
                  พื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด 72,880,143 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ 43,108,066 ไร่ และภาค

                  ตะวันออกมีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยที่สุด 13,392,288 ไร่ และเมื่อพิจารณาประเภทการใช้ที่ดินของพื้นที่
                  เกษตรกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
                                   (1)  พื้นที่นา ในที่นี้รวมถึงพื้นที่นาร้าง พื้นที่นาข้าว และพื้นที่ลุ่มที่มีการท้านาในฤดู

                  แล้ง ซึ่งเป็นประเภทการท้าเกษตรกรรมที่มีพื้นที่มากที่สุด โดยมีพื้นที่ 74,367,917 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ
                  23.19 ของเนื้อที่ประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่พื้นที่นาข้าวมากที่สุด 44,311,900 ไร่
                  รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ มีพื้นที่นาข้าว 17,064,602 ไร่ และภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่นาข้าวน้อยที่สุด
                  1,649,194 ไร่

                                   (2)  พื้นที่พืชไร่ มีพื้นที่ 41,223,678 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 12.86 ของเนื้อที่ประเทศ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่พื้นที่พืชไร่มากที่สุด 17,063,771 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ มีเนื้อที่
                  14,299,652 ไร่ และภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่พืชไร่น้อยที่สุด 27,388 ไร่โดยมีพืชไร่ที่ส้าคัญ ดังนี้
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112