Page 131 - Land Use Plan of Thailand
P. 131

4-13





                  และตรงกับความต้องการของแต่ละภาคส่วนเพื่อเตรียมพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ

                  ภูมิอากาศและภัยธรรมชาติระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

                               สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ จะด าเนินการได้คือการพัฒนาขีดความสามารถทางภาคเกษตรใน
                  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญา
                  ท้องถิ่นสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานและรักษา
                  ศักยภาพในการแข่งขันสินค้าโลก รวมถึงสร้างกลไกสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการรักษา

                  สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่จะส่งผลไปถึงการลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม
                  และการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันภาคเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลง
                  ภูมิอากาศเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับตัว โดยมีกลไกสนับสนุนการปรับตัวอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

                  เพื่อให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการปรับตัวและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง  อันจะเป็นส่วนที่
                  เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพและวิถีชีวิตและส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภาคเกษตร
                  ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเทคโนโลยี การค้า สิ่งแวดล้อม เพื่อการวางแผนและจัดการการผลิต
                  การตลาดสินค้าเกษตรอย่างเหมาะสมสนับสนุนการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
                  เน้นการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร


                  4.4  ภัยธรรมชาติ

                        ภัยธรรมชาติในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ล้วนแล้วแต่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่
                  เกษตรกรได้ ลักษณะของภัยธรรมชาติที่ส าคัญในประเทศไทยได้แก่ ดินถล่ม อุทกภัย และภัยแล้ง ใน
                  หัวข้อนี้ได้อธิบายถึงความหมาย สาเหตุและลักษณะของการเกิดภัยต่างๆ ดังนี้

                        4.4.1  ความหมาย

                               มีการให้นิยามและความหมายของภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ไว้หลายหน่วยงานที่

                  เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในเชิงพรรณนาโวหาร แต่โดยสรุปแล้ว เป็นที่เข้าใจไปในทิศทาง
                  เดียวกันนั่นเอง ดังนั้นในที่นี้จึงจะใช้ความหมายของภัยพิบัติต่างๆ อย่างกว้างๆ ที่สามารถสื่อความหมาย
                  ของภัยพิบัติได้อย่างเพียงพอ ต่อการด าเนินงานในขั้นตอนต่อไป
                               1)  ดินถล่มหมายถึง ภัยที่เกิดจากอิทธิพลของการเคลื่อนตัวของมวลดินและ/หรือ

                  หิน ซึ่งอาจพัดพาต้นไม้ บ้านเรือน ทรัพย์สินต่างๆ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆจนช ารุดเสียหาย หรือพังทลาย
                  และยังอาจท าให้ช่องเปิดของสะพาน แม่น้ า ล าคลอง อุดตัน จนเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัยขึ้นได้ใน
                  เส้นทางการเคลื่อนตัว ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และ

                  สิ่งแวดล้อม (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2560จ)
                               2)  อุทกภัยหมายถึง อันตรายจากน้ าท่วม ซึ่งมีสาเหตุมาจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็น
                  เวลานานน้ าหลากจากภูเขาบริเวณต้นน้ าล าธาร น้ าท่วมฉับพลันหรือน้ าป่าไหลหลาก น้ าทะเลหนุน
                  เขื่อนพัง และจากคลื่นสึนามิ เป็นต้น ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

                  (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2560ค)
                               3)  ภัยแล้งหมายถึง ภัยธรรมชาติอันเกิดจากการมีฝนตกน้อย หรือฝนไม่ตกต้องตาม
                  ฤดูกาลท าให้เกิดสภาวะการขาดแคลนน้ าในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทั้งด้านน้ าอุปโภค บริโภคและน้ าเพื่อ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136