Page 134 - Land Use Plan of Thailand
P. 134

4-16





                                       -  น้ าท่วมฉับพลัน เป็นภาวะที่เกิดสภาพน้ าขึ้นสูงอย่างรวดเร็วมากผิดปกติ

                  จากการที่ฝนตกหนัก หรือการระบายน้ าจากเขื่อนอย่างรวดเร็ว หรืออ่างเก็บน้ า/เขื่อนพัง และปริมาณน้ า
                  ก็อาจลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
                                       -  น้ าป่าไหลหลาก เกิดขึ้นจากน้ าที่ไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ าเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว

                  เนื่องจากฝนตกหนักหรือตกต่อเนื่องเป็นเวลานานบนพื้นที่สูงหรือภูเขา อาจท าความเสียหายให้กับชีวิตและ
                  ทรัพย์สิน ที่อยู่บริเวณเส้นทางที่น้ าไหลผ่าน
                                       -  น้ าล้นตลิ่ง เกิดจากฝนตกหนักเป็นเวลานานในลุ่มน้ าท าให้ปริมาณน้ าท่า
                  มากกว่าความจุของล าน้ า จึงไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่สองฝั่งล าน้ า ความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของแม่น้ า
                  ปริมาณฝนที่ตก

                                       -  Storm Surge เกิดบริเวณชายทะเล จากพายุหมุนในทะเลก่อให้เกิด
                  คลื่นใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง จึงมีความรุนแรงมาก ท าความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินโดยฉับพลัน
                               3)  ภัยแล้ง

                                   (1)  สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง ซึ่งภัยแล้งเป็นสภาวะที่เกิดความแห้งแล้ง หรือการ
                  ขาดแคลนน้ า ที่มีสาเหตุมาจากปริมาณฝนที่ผิดปกติต่ ากว่าเกณฑ์ ฝนทิ้งช่วง และดินมีความสามารถใน
                  การอุ้มน้ าต่ า การกักเก็บน้ าได้ระยะเวลาที่จ ากัด
                                   (2)  ลักษณะของการเกิดภัยแล้ง ทั้งนี้ได้แบ่งการเกิดภาวะความแห้งแล้งเป็น 3

                  ลักษณะใหญ่ๆ คือ
                                       -  ความแห้งแล้งจากสภาพอากาศ ที่ไม่สมดุลระหว่างการระเหยของน้ าและ
                  ปริมาณน้ าฝน กล่าวคือ มีการระเหยของน้ ามากกว่าปริมาณน้ าที่ได้รับ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การคาย
                  ระเหยของดินและพืชพรรณสูงกว่าปริมาณน้ าฝน ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง

                                       -  ความแห้งแล้งจากการขาดน้ า สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ
                  ภูมิอากาศ ท าให้ปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยลงกว่าปกติเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง จนมีผลกระทบต่อ
                  การลดระดับของน้ าผิวดิน น้ าใต้ดิน ซึ่งจะท าให้เกิดการขาดแคลนน้ าอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง
                                       -  ความแห้งแล้งทางการเกษตร เป็นภาวะที่เกิดการขาดแคลนน้ าส าหรับ

                  การเกษตรจากปริมาณฝนที่ลดลง ความชื้นในดินลดลงจนพืชขาดน้ า ชะงักการเจริญเติบโต เหี่ยวเฉา
                  และตายไปในที่สุด (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2557 : 12-21)

                        4.4.3  สถานการณ์การเกิดภัยในประเทศไทย

                               ภัยพิบัติ (Disaster) เป็นภัยที่เกิดขึ้นแล้วสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สินของ
                  มนุษย์ และสภาพแวดล้อมในวงกว้าง หรือในกลุ่มชนจ านวนมาก ซึ่งกลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถ

                  ใช้ทรัพยากรของตนเองเข้าจัดการได้ ปกติแล้วภัยพิบัติจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ก็มีภัยพิบัติบางอย่าง
                  เกิดจากการกระท าของมนุษย์ แต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                  ภูมิอากาศนั้น จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความถี่ในการเกิดบ่อยครั้งขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้อาจเป็นผล
                  สืบเนื่องจากการที่มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการพัฒนาประเทศมากขึ้น ก่อให้เกิดการ
                  เปลี่ยนแปลงทั้งสภาพและความสมดุลของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศไปเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึง

                  ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้น ทั้งดินถล่ม อุทกภัย และภัยแล้ง ซึ่งจะ
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139