Page 136 - Land Use Plan of Thailand
P. 136

4-18





                  ตารางที่ 4-4ช่วงเวลาการเกิดภัยธรรมชาติในภาคต่างๆ ของประเทศไทย (ต่อ)


                                                                                                  ใต้
                   เดือน/ภาค     เหนือ     ตะวันออกเฉียงเหนือ   กลาง        ตะวันออก
                                                                                       ฝั่งตะวันออก  ฝั่งตะวันตก
                  ตุลาคม                                    พายุหมุนเขต   พายุหมุนเขต  อุทกภัย      พายุหมุนเขต
                                                            ร้อน          ร้อน                      ร้อน
                                                            อุทกภัย       อุทกภัย                   อุทกภัย
                                                            พายุฝนฟ้า     พายุฝนฟ้า                 คลื่นพายุซัดฝั่ง
                                                            คะนอง         คะนอง
                                                                                                    แผ่นดินถล่ม
                  พฤศจิกายน                                                            อุทกภัย      พายุหมุนเขต
                                                                                                    ร้อน
                                                                                                    อุทกภัย
                                                                                                    คลื่นพายุซัดฝั่ง
                                                                                                    แผ่นดินถล่ม
                  ธันวาคม                                                                           อุทกภัย
                  ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2557: 21)
                               1)  ดินถล่ม การเกิดดินถล่มในประเทศไทยและสร้างความเสียหายในลักษณะภัยพิบัติส่วน

                  ใหญ่เป็นลักษณะการไหลของดินและหินจากที่สูงมาทับถมข้างล่าง ซึ่งเกิดจากน้ าฝนเป็นปัจจัยหลักในการ
                  กระตุ้นให้เกิดโดยมีปริมาณน้ าฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน และมีการสะสมในช่วง 2-3 วัน ตลอดจน
                  ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหินเนื้อแน่นแต่ผุง่าย ดินเป็นดินเนื้อหยาบถึงเนื้อละเอียด ภูมิประเทศ

                  เป็นภูเขาสูงชัน ที่ลาดเชิงเขา หุบเขาหรือหน้าผา และมักจะเกิดควบคู่กับน้ าป่าไหลหลากเมื่อฝนตกหนัก
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)
                                   เหตุการณ์ดินถล่มที่เกิดขึ้นในอดีตมีความรุนแรงและความถี่ไม่มากนัก แต่ปัจจุบัน
                  ดินถล่มเริ่มเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จากที่เคยมีการบันทึกไว้พบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ประเทศไทยเกิด

                  ดินถล่มเกือบทุกปีทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่ชีวิต บ้านเรือน
                  ทรัพย์สิน และพื้นที่ท าการเกษตรมากขึ้นเช่นกัน
                                   ข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินได้ระบุไว้ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม
                  ระดับน้อย ปานกลางและสูงประมาณ 10.352 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 57 จังหวัด 1,007 หมู่บ้าน ที่อาจจะ

                  เกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ (รูปที่4-5 ตารางที่ 4-5)
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141