Page 51 - pineapple
P. 51

2-41





                          อย่างไรก็ตามการรับซื้อผลผลิตสับปะรดสดของโรงงานแปรรูปขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลผลิต

                  ในช่วงที่สับปะรดมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากจนเกิดการกระจุกตัวของผลผลิตและเกินความต้องการของ
                  โรงงานแปรรูปซึ่งโรงงานจะกําหนดวิธีการรับซื้อสับปะรดในแต่ละวัน หรือกําหนดโควตาการรับซื้อผลผลิตจาก
                  เกษตรกรและพ่อค้าคนกลางที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตที่เข้มงวดเกษตรกรที่

                  ซื้อขายแบบตลาดเสรีจะประสบปัญหามากโดยเฉพาะบางปีจะจําหน่ายผลผลิตได้ในราคาต่ําหรืออาจจําหน่ายไม่ได้
                  บางส่วน ในขณะที่เกษตรกรที่ซื้อขายแบบตลาดข้อตกลงค่อนข้างจะได้เปรียบ เพราะทางโรงงานจะปฏิบัติตาม
                  สัญญาแม้ว่าราคาอาจจะต่ําแต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุน เพราะสามารถจําหน่ายผลผลิตได้ทั้งหมด สําหรับในช่วงที่
                  ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดน้อยหรือขาดแคลน โรงงานแปรรูปจะใช้วิธีรับซื้อโดยเน้นให้ได้ผลผลิตมากที่สุด เพื่อ
                  ป้อนเข้าสู่ระบบการผลิตในโรงงาน ราคาสับปะรดจึงค่อนข้างสูง นอกจากนี้การตรวจสอบคุณภาพผลผลิตสับปะรด

                  จะไม่เคร่งครัดเหมือนช่วงที่มีผลผลิตมาก
                                    การจัดหาวัตถุดิบสับปะรดสดของโรงงานแปรรูปสับปะรด มี 3 วิธี (สํานักวิจัย
                  เศรษฐกิจการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร)

                                    1)  โรงงานดําเนินการผลิตสับปะรดสดเอง โดยมีพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดเป็นของตัวเอง
                  หรือเช่าพื้นที่ปลูก เพื่อบรรเทาปัญหาหากผลผลิตสับปะรดขาดแคลน และเพื่อให้ได้สับปะรดที่มีคุณภาพตามที่
                  ต้องการ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เป็นการเพิ่มภาระและต้นทุนการผลิตให้กับโรงงาน
                                    2)  โรงงานรับซื้อผลผลิตสับปะรดสดจากเกษตรกรโดยตรงหรือรับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง

                  (ระบบการซื้อขายแบบเสรี) โดยเป็นการซื้อจากเกษตรกรที่นําผลผลิตสับปะรดมาจําหน่ายหน้าโรงงานหรือเข้าไป
                  รับซื้อถึงไร่ มีการกําหนดราคารับซื้อในแต่ละวันหน้าโรงงานซึ่งถูกกําหนดโดยกลไกตลาด วิธีนี้ค่อนข้างจะสะดวก
                  ทั้งเกษตรกรและโรงงาน เนื่องจากโรงงานไม่ต้องรับผิดชอบและมีเงื่อนไขในการรับซื้อมากนัก แต่ผลผลิตที่ได้
                  จะต้องมีการคัดคุณภาพอย่างละเอียดเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ทั้งนี้โรงงานจะกําหนดมาตรฐานสับปะรดที่

                  จะรับซื้อ
                                    3) โรงงานทําสัญญากับเกษตรกร (Contract Farming) โดยจะทําสัญญากับเกษตรกรราย
                  ใหญ่ กลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกรกลุ่มใหญ่ผ่านสหกรณ์เพื่อสะดวกในการบังคับสัญญาและลดต้นทุนการทํา
                  ธุรกรรม โดยจะทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในแต่ละปีในราคาและปริมาณที่กําหนดไว้ ซึ่งจะทําให้โรงงานทราบถึง

                  จํานวนพื้นที่เพาะปลูกสามารถคาดคะเนผลผลิตที่ได้แน่นอนเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางด้านความเพียงพอของ
                  ปริมาณผลผลิตของโรงงาน ลดปัญหาความไม่สม่ําเสมอของปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่โรงงาน และยังเป็นการสร้าง
                  ความสัมพันธ์อันดีกับเกษตรกรในพื้นที่ โดยโรงงานจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการ

                  ให้คําแนะนําวิธีการปลูกสับปะรดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงกับความต้องการและสามารถควบคุมคุณภาพ
                  ของวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การทําสัญญาในลักษณะนี้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์ในเรื่องของความ
                  แน่นอนด้านตลาด ขณะที่โรงงานก็สามารถประมาณต้นทุนของสับปะรดได้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักเกิด
                  ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญา
















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56