Page 49 - pineapple
P. 49

2-39





                    2.6.2 การตลาดและราคาผลผลิต

                      2.6.2.1 โครงสร้างการตลาดสับปะรด
                          ความต้องการผลผลิตสับปะรดของตลาดจะมี 2 รูปแบบ โดยประมาณร้อยละ 80
                  ของปริมาณผลผลิตสับปะรดทั้งหมด ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปของโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

                  สับปะรดประเภทต่างๆ เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ และประมาณร้อยละ 20 ใช้เป็นสับปะรด
                  สําหรับบริโภคผลสดภายในประเทศ (สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2545) วิถีการตลาดของ
                  สับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรด ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจนถึง
                  ผู้ประกอบการระดับต่างๆ เพื่อจัดส่งผลผลิตสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปไปยังตลาด
                  ปลายทางหรือผู้บริโภค (รูปที่ 2-9) (สํานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2553)

                  มีรายละเอียดดังนี้
                          1) เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด เกษตรกรจะทําการผลิตสับปะรดตั้งแต่จัดหาพันธุ์ ปัจจัย
                  การผลิต วัสดุการเกษตร ดูแลรักษา จนกระทั่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต และจําหน่ายต่อไปยังพ่อค้าท้องถิ่น/

                  สถาบันเกษตรกร หัวหน้าโควตา หรือโรงงานแปรรูป เกษตรกรเกือบทั้งหมดจะจําหน่ายสับปะรดในรูปผลสด
                  มีบางรายที่ทําการปอก และหั่นสับปะรดเป็นชิ้นก่อนส่งจําหน่ายให้กับโรงงานสับปะรด
                          2) หัวหน้าโควต้า จะรับซื้อผลผลิตสับปะรดสดจากเกษตรกรเพื่อส่งไปยังโรงงาน
                  แปรรูปเป็นหลัก

                          3) พ่อค้าท้องถิ่น/สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร
                  สมาคมชาวไร่ ฯลฯ จะรับซื้อผลผลิตสับปะรดสดจากแหล่งผลิตเพื่อนําไปจําหน่ายยังตลาดกลางใน

                  กรุงเทพฯ ตลาดขายส่งในท้องถิ่น หรือส่งไปยังโรงงานแปรรูป
                          4)  โรงงานแปรรูป จะรับซื้อผลผลิตสับปะรดสดจากเกษตรกรโดยตรง พ่อค้าท้องถิ่น/

                  สถาบันเกษตรกร หรือหัวหน้าโควตา แล้วนํามาทําการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรด เช่น สับปะรด
                  กระป๋อง น้ําสับปะรด สับปะรดกวน สับปะรดแช่เย็นจนแข็ง ฯลฯ แล้วจึงส่งออกไปจําหน่ายยังตลาดใน
                  ประเทศหรือตลาดต่างประเทศ
                          5) ตลาดท้องถิ่น/ตลาดกรุงเทพฯได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ทั้ง 2 ตลาดนี้

                  จะเป็นแหล่งรองรับสับปะรดสด และทําหน้าที่เหมือนตลาดกลางเพื่อกระจายผลผลิตสับปะรดสดไปยัง
                  พ่อค้าขายปลีก
                          6) ตลาดภายในประเทศ/ตลาดต่างประเทศ จะรับผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปจาก

                  โรงงานแปรรูปเพื่อส่งไปจําหน่ายต่อ โดยตลาดในประเทศนั้นจะมีพ่อค้าขายส่งรับซื้อผลิตภัณฑ์สับปะรด
                  แปรรูปต่ออีกทอดหนึ่ง
                          7)  พ่อค้าขายส่ง รับซื้อผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปเพื่อนําไปจําหน่ายให้พ่อค้าปลีก
                          8)  พ่อค้าขายปลีกจะรับซื้อสินค้าทั้งสับปะรดสดจากตลาดท้องถิ่น/ตลาดกรุงเทพฯ
                  และผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปจากพ่อค้าขายส่ง แล้วนําไปจําหน่ายให้กับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย














                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54