Page 45 - pineapple
P. 45

2-35





                  2.6  สภาวะการผลิตและการตลาด

                      ประเทศไทยมีการปลูกสับปะรดกระจายอยู่ทั่วไปมานานตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2510 ผลผลิต
                  สับปะรดที่ได้สามารถนํามาบริโภคสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภท เช่น สับปะรดกระป๋อง

                  น้ําสับปะรด สับปะรดแช่เย็นจนแข็ง สับปะรดกวนสับปะรดแห้ง ฯลฯ ไม่เฉพาะเนื้อของผลสับปะรด
                  เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้เท่านั้น ส่วนอื่นของสับปะรดยังสามารถนํามาสร้างรายได้อีกด้วย เช่น
                  เปลือกนํามาใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบนํามาใช้ทําเยื่อกระดาษ เส้นใยนํามาทอเป็นผ้าใยสับปะรด เศษเหลือ
                  จากอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องนํามาแปรรูปเป็นน้ําเชื่อม แอลกอฮอล์ น้ําส้มสายชู ไวน์ กรดอินทรีย์
                  3 ชนิด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอสคอร์บิก ฯลฯ (จักราวุธ, 2552) คาดว่ามีการผลิตสับปะรด

                  เพื่อการแปรรูปในอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดกระป๋องตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2510 และขยายเพิ่มขึ้น
                  จนถึงปัจจุบัน สับปะรดจึงถือได้ว่าเป็นเกษตรอุตสาหกรรมระดับแนวหน้าประเภทหนึ่งของประเทศ และ
                  ยังเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจเกษตรโดยเฉพาะ สับปะรดกระป๋อง ซึ่งถือได้ว่า

                  เป็นอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องรุ่นแรกๆ ที่ประสบความสําเร็จ โดยอาศัยตลาดความต้องการบริโภค
                  สับปะรดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงกลาง ศตวรรษที่ 20 เป็นเงื่อนไขสําคัญ (เคหการเกษตร, 2554ก
                  นิตยสารครัว, 2542)
                    2.6.1 แหล่งผลิตที่สําคัญ

                       ก่อนปี พ.ศ. 2510 มีการปลูกสับปะรดทั่วไปเพื่อใช้บริโภคผลสดภายในประเทศเป็นหลัก
                  หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการพัฒนาการทําไร่ขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องอย่างรวดเร็วใน
                  เขตพื้นที่ชายฝั่งทะเล ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี และระยอง สับปะรดเหล่านี้ได้แก่
                       พันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พันธุ์ศรีราชา ซึ่งเป็นสับปะรดที่

                  มีผลใหญ่ที่สุดในบรรดาสับปะรดด้วยกัน เนื้อมีสีเหลือง รสหวานฉ่ํา เป็นพันธุ์เดียวที่ปลูกเพื่อส่งโรงงาน
                  สับปะรดกระป๋องแต่ก็สามารถบริโภคผลสดได้
                             สับปะรดภูเก็ต (Malacca Queen) มีชื่อเสียงในการบริโภคผลสด ผลมีขนาดเล็ก ผลย่อย
                  นูน ตาลึก ไม่เหมาะแก่การปลูกเพื่อส่งโรงงาน เนื้อมีสีเหลือง รสหวานกรอบและมีกลิ่นหอมนิยมปลูก

                  กันมากในภาคใต้บริเวณจังหวัดภูเก็ตและชุมพรโดยปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา
                       สับปะรดบางคล้าหรือพันธุ์อินทรชิต (Singapore Spanish) เป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดของ
                  ประเทศไทย ปลูกมานานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยโปรตุเกสนําเข้ามาเผยแพร่เนื้อเป็นสีทอง รสไม่

                  หวานจัด ภายในผลมีเส้นใยมากและผลค่อนข้างเล็ก เปลือกผลเหนียวแน่นทนนานต่อการขนส่ง เหมาะ
                  สําหรับบริโภคผลสดในอําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังมีการปลูกสับปะรดพันธุ์ขาว (Selangor
                  Green) เนื้อมีรสชาติและคุณภาพคล้ายคลึงกับพันธุ์อินทรชิตมาก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าคงจะกลายพันธุ์มา
                  จากพันธุ์อินทรชิต
                       สับปะรดนางแลหรือพันธุ์น้ําผึ้ง มีผู้กล่าวว่าพันธุ์นี้นํามาจากประเทศศรีลังกาบ้างก็กล่าว

                  ว่านํามาจากมณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนแต่จากลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของต้น ใบ
                  ดอก และผล จะคล้ายคลึงกับพันธุ์ปัตตาเวียมาก จึงอาจเป็นพันธุ์ย่อยหรือกลายพันธุ์มาจากพันธุ์
                  ปัตตาเวีย ปลูกมากที่ตําบลนางแล อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เนื่องจากมีรสหวานจัดและมีเส้นใยน้อย

                  ทําให้เป็นที่นิยมของตลาด







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50