Page 46 - pineapple
P. 46

2-36





                       สับปะรดตราดสีทอง ซึ่งแท้จริงก็คือพันธุ์ภูเก็ตที่นํามาปลูกที่จังหวัดตราด เนื่องจากเนื้อมี

                  สีเหลืองเข้ม รสหวานจึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค (นิตยสารครัว, 2542 ม.ป.ป)

                        เนื้อที่ปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตรวม และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
                       การปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรดในประเทศไทย ทําได้เกือบตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่
                  ผลผลิตสับปะรดออกมากมี 2 ช่วง คือ ช่วงสับปะรดปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนซึ่งจะเก็บเกี่ยว
                  ผลผลิตได้มากกว่าสับปะรดทวายประมาณ 3 เท่า และช่วงสับปะรดทวาย ระหว่างเดือนตุลาคมถึง

                  ธันวาคม รายละเอียด ดังตารางที่ 2-6 (ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
                  2550)

                  ตารางที่ 2-6 ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรดปีและสับปะรดทวาย


                       เดือน    ม.ค.  ก.พ.  มี.ค.  เม.ย  พ.ค.  มิ.ย.  ก.ค.  ส.ค.  ก.ย. ต.ค.  พ.ย.  ธ.ค.
                   สับปะรดปี

                   สับปะรดทวาย


                       เนื้อที่ปลูกสับปะรดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2563 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยอัตราการ
                  เปลี่ยนแปลงของเนื้อที่ปลูกในช่วง10 ปีที่ผ่านมาเป็นไปในทิศทางลดลงร้อยละ 3.12 ส่งผลให้เนื้อที่เก็บ

                  เกี่ยว ผลผลิตรวม ลดลงร้อยละ 3.04 และ 3.86 ตามลําดับ (ตารางที่ 2-7)
                       ในปี 2554-2558 เนื้อที่เก็บเกี่ยว และผลผลิตสับปะรดโรงงานลดลงร้อยละ 9.87 และร้อย
                  ละ 9.27 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.72 ต่อปี สําหรับในปี 2558 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว
                  446,771 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 1,825,195 ตัน ลดลงจากปี 2557 ร้อยละ 0.44 และร้อยละ 6.37 เนื่องจาก

                  เนื้อที่ปลูกสับปะรดแซมในสวนยางพาราลดลง เพราะต้นยางพารามีอายุมากกว่า 3 ปี
                       และในปี 2559-2563 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว และผลิตสับปะรดโรงงานลดลงร้อยละ 3.12 และ
                  ร้อยละ 3.04 ผลผลิตต่อไร่ สําหรับปี 2563 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 427,209 ไร่ ผลผลิต 1,504,359 ตัน ลดลง
                  จากในปี 2559 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 461,959 ไร่ ผลผลิต 1,843,126 ตัน เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งทําให้

                  ต้นไม่สมบูรณ์ ผลผลิตต่อไร่จึงลดลง บางส่วนไม่ติดผล ผลเล็ก แคระแกร็น ไม่สามารถใช้สารบังคับการ
                  ออกผลในช่วงปลายปีได้เต็มที่


























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51