Page 48 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 48

2-32






                        51) หน่วยที่ดินที่ 51 51B 51BI 51C 51CI 51D  และ51E
                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินตื้น การระบายน ้าดี ดินมีความอุดม

                  สมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่าปานกลางถึงต ่ามากและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่
                  เป็นด่างต ่า ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด

                  มากถึงชั้นหินพื้น

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณ

                  มาก และมีชั้นหินพื้นอยู่ตื้น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้าง
                  พังทลายของหน้าดินได้ง่าย ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น บางแห่งใช้ปลูกยางพารา หรือปล่อยทิ้ง

                  เป็นป่าละเมาะ

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินตื้นถึง

                  ชั้นหินพื้น ซึ่งจะพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 เซนติเมตร ท าให้การหยั่งลึกของรากพืชมีอุปสรรค
                  มาก จึงไม่เหมาะสมส าหรับปลูกมะม่วงและไม่แนะน าให้ปลูกมะม่วงในกลุ่มชุดดินนี้ แต่ถ้าจ าเป็นต้อง

                  ใช้ปลูกมะม่วง จะต้องปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา

                  25 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับ
                  การใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่

                  ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของ
                                               3
                  ธาตุอาหารพืชในดิน
                        52) หน่วยที่ดินที่ 52  52I 52b 52B 52BI 52Bmd 52BmdI 52C  52CI  52Cmd 52D 52E 52md

                  52mdI 52BM 52CM และ52M

                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินตื้น บางแห่งลึกปานกลาง การ
                  ระบายน ้าดีถึงดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกและความ

                  อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว

                  ปนกรวดปนกรวดดินล่าง เนื้อดิน เป็นดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนกรวดมากถึงชั้นปูนมาร์ล
                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ล และเป็นดินเหนียว ท าให้การไถพรวน

                  ยาก ขาดแคลนน ้า และดินเป็นด่างจัด ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด ถั่ว และไม้ผลบาง

                  ชนิด เช่น มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินตื้นจะพบ
                  ชั้นปูนมาร์ลภายในระดับความลึก 50 เซนติเมตร ท าให้การหยั่งลึกของรากพืชมีอุปสรรคค่อนข้างมาก

                  ดังนั้นในการปลูกมะม่วงจะต้องปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็ก









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53