Page 47 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 47

2-31





                  อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต ่า ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินเหนียว

                  ปนกรวดมากหรือดินร่วนเหนียวปนทราย

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า บางแห่งมีก้อน
                  ศิลาแลงโผล่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเขตกรรม บริเวณที่มีความลาดชันสูง

                  จะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ ทุ่งหญ้าธรรมชาติ

                  ที่รกร้างว่างเปล่า ป่าเต็งรังหรือใช้ปลูกไม้โตเร็ว

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินตื้นถึง
                  ชั้นก้อนกรวด หรือลูกรัง ท าให้การหยั่งลึกของรากพืชมีอุปสรรคมาก จึงไม่เหมาะสมส าหรับการปลูก

                  มะม่วงและไม่แนะน าให้ปลูกมะม่วง แต่ถ้าจ าเป็นต้องใช้ปลูกมะม่วง จะต้องปรับปรุงหลุมปลูกด้วย

                  ปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่

                  (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก
                  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา
                                                                                                 3
                  200 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

                        50) หน่วยที่ดินที่ 50  50I 50B 50BI 50C  50CI 50D  50E และ 50gm
                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินลึกปานกลาง การระบายน ้าดีปาน

                  กลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่าปานกลางถึงต ่ามากและความ

                  อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต ่า ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินร่วน
                  เหนียวปนทรายถึงดินเหนียวปนกรวดมาก

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินลึกปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ต ่า เนื้อดิน

                  ค่อนข้างเป็นทราย บางแห่งดินเป็นกรดจัดมาก ในบริเวณที่มีความลาดชันสูง จะมีปัญหาการชะล้าง
                  พังทลายของหน้าดิน ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ปลูกยางพารา ไม้ผล สับปะรด กล้วย และแตงโม

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินลึกปาน

                  กลาง จะพบชั้นก้อนกรวด หรือลูกรังภายในระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร ท าให้การหยั่งลึกของ
                  รากพืชมีอุปสรรคค่อนข้างมาก ดังนั้นในการปลูกมะม่วงให้ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ย

                  หมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่

                  อัตรา 50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                  โพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อ
                                                                           3
                  เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52