Page 43 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 43

2-27





                        41) หน่วยที่ดินที่ 41 41I 41b 41B 41Bb 41BbI 41Bd3c 41bI 41BI 41C 41CI และ 41d3c

                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินลึกมาก การระบายน ้า

                  ค่อนข้างเลวถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่าปานกลางถึงต ่ามากและ
                  ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างต ่าถึงปานกลาง ดินบนเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน

                  ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า เนื้อดินเป็นทรายจัดหรือ

                  ค่อนข้างเป็นทราย ท าให้มีความสามารถในการอุ้มน ้าต ่าถึงต ่ามาก พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาด

                  แคลนน ้าได้ง่าย ดินกลุ่มนี้ใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ปอแก้ว มันส าปะหลัง อ้อย ปอ ข้าวโพด ฝ้าย ถั่ว และ

                  ยาสูบ บางแห่งเป็นป่าเต็งรัง
                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์

                  หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5

                  เมตร) ใส่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน
                  ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา 200-300
                                                                                        3
                  กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

                        42) หน่วยที่ดินที่ 42 42I 42B และ 42BI
                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินลึกปานกลาง

                  การระบายน ้าดีถึงค่อนข้างมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่าปานกลาง

                  ถึงต ่ามากและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต ่า ดินบนและดินล่าง เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน
                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า และเนื้อดินเป็นทรายจัด ไม่มี

                  ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลงเหลืออยู่ และพืชมักแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็น และมีชั้นดาน

                  อินทรีย์ภายในความลึก 50-100 เซนติเมตร ในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมาก รากพืชไม่สามารถ

                  ไชชอนผ่านไปได้ ส่วนในช่วงฤดูฝนจะมีน ้าแช่ขัง ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ
                  บางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ และพืชไร่บางชนิด เช่น มันส าปะหลัง อ้อย และสับปะรด เป็นต้น

                            แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินทราย

                  และมีชั้นดานอินทรีย์ พบบริเวณหาดทรายเก่า ซึ่งไม่เหมาะสมส าหรับปลูกมะม่วง จึงไม่แนะน าให้ปลูก

                  มะม่วง

















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48