Page 38 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 38

2-22






                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินที่เกิดอยู่บริเวณที่มีระดับความสูงมากและพื้นที่มี
                  ความลาดชันสูง มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย กลุ่มชุดดินนี้ มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติ

                  หลายแห่งถูกบุกรุกเพื่อท าไร่เลื่อนลอย บางแห่งอยู่ในเขตโครงการพัฒนา มีการปลูกไม้ผลเมืองหนาว

                  เช่น ท้อ สาลี่ และแอปเปิ้ล

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์
                  หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5

                  เมตร) ใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน

                  ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา 500-1,100
                                                                                       3
                  กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

                        31) หน่วยที่ดินที่  31  31I  31B  31b  31Bb  31bI  31BI  31BbI  31C  31CI 31D  31E 31Bgm

                  31BgmI  31gm  และ31gmI

                           พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินลึกมาก การระบายน ้าค่อนข้างเลว
                  ถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงและความอิ่มตัวด้วย

                  ประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างต ่าถึงปานกลาง ดินบน เนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินล่าง เนื้อดิน

                  เป็นดินเหนียว
                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ บริเวณที่มีความลาดชันจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้าง

                  พังทลายของหน้าดิน และดินมีโอกาสขาดแคลนน ้าในช่วงฤดูเพาะปลูก และในฤดูแล้ง กลุ่มชุดดินนี้ใช้

                  ปลูกพืชไร่และไม้ผลต่างๆ

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือ
                  ปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร)

                  ใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักฟอสฟอรัส และในบาง

                  พื้นที่ที่ดินเป็นด่างจัด ควรให้ปุ๋ ยทางใบเสริมเมื่อพบอาการขาดธาตุอาหารในมะม่วง
                        32) หน่วยที่ดินที่  32  32I  32B  32BI  32C  32Bgm  32gm  และ  32gmI

                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินลึกมาก การระบายน ้า

                  ค่อนข้างเลวถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกปานกลางถึง
                  ค่อนข้างสูงและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต ่า ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง

                  ดินล่างเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การขาดแคลนน ้าในช่วงฤดูแล้ง และบางพื้นที่อาจมีน ้า
                  ท่วมฉับพลันในฤดูน ้าหลาก และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43