Page 35 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 35

2-19





                        24) หน่วยที่ดินที่  24  24I 2 4M2  24IM2  24sa  และ24saM2

                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าดีปานกลาง ดินมีความ

                  อุดมสมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่ามากถึงต ่าปานกลางและความอิ่มตัวด้วย
                  ประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างต ่าถึงปานกลาง ดินบนและดินล่างเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน

                  หากพบคราบเกลือจะมีค่าการน าไฟฟ้า 2-4 dS/m

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่  เนื้อดินเป็นทรายจัด มีความสามารถในการอุ้มน ้าต ่าถึง
                  ต ่ามาก พืชมักแสดงอาการขาดน ้าในระยะช่วงฝนทิ้งช่วง และมีความอุดมสมบูรณ์ต ่า ดินกลุ่มนี้ใช้ท า

                  นา หรือปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น มันส าปะหลัง อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้มีปัญหาเกี่ยวกับ
                  การระบายน ้า และเสี่ยงต่อน ้าท่วมขังเป็นระยะเวลายาวนานโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ในการปลูกมะม่วง

                  ควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน ้าและป้องกันน ้าท่วม ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก

                  โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา

                  50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                  โพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO) อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่ม
                                                                      3
                  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน

                        25) หน่วยที่ดินที่ 25   25I  25M2  25IM2  25hi  25hiI  25hiM2  25hiIM2  และ25udic
                          พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินตื้น การระบายน ้าค่อนข้างเลว ดินมีความอุดม

                  สมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต ่ามากถึงต ่าปานกลางและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่

                  เป็นด่างต ่า ดินบน เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด ดินล่าง เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว
                  ปนทรายปนกรวดมาก

                          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต ่า และมีโอกาส

                  ที่จะขาดน ้าได้ง่ายในช่วงฤดูเพาะปลูก ในฤดูฝนจะมีน ้าท่วมขัง บางแห่งมีเนื้อดินบนค่อนข้างเป็น
                  ทราย ดินกลุ่มนี้ปกติใช้ท านา บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือป่าเต็งรัง

                          แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินตื้นมี

                  ปัญหาเกี่ยวกับการระบายน ้าค่อนข้างเลว และเสี่ยงต่อน ้าท่วมขังเป็นเวลานานโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน จึง

                  ไม่แนะน าให้ปลูกมะม่วง แต่ถ้าจ าเป็นต้องใช้ปลูกมะม่วงควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน ้าและ
                  ป้องกันน ้าท่วม ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 25

                  กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้

                  ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็น









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40