Page 20 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 20

2-4





                            1)  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น

                  ช่วงเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ

                  หันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายน บริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะ

                  ในเวลาเที่ยงวันท าให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ในฤดูนี้
                  แม้ว่าจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมา

                  ปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนท าให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุม

                  อยู่เหนือประเทศไทย ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิด
                  ความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักถูกเรียกว่า “พายุฤดูร้อน”

                            2)  ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เมื่อลมมรสุม

                  ตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต ่าพาดผ่านประเทศไทยท าให้มี

                  ฝนตกชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต ่านี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อน
                  ขึ้นไปทางเหนือตามล าดับ จนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านบริเวณสาธารณรัฐ

                  ประชาชนจีนตอนใต้ ท าให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง เรียกช่วงนี้ว่า “ฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนาน

                  ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมร่อง
                  ความกดอากาศต ่าเลื่อนกลับลงมาจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนพาดผ่านบริเวณประเทศไทย

                  อีกครั้ง ท าให้มีฝนตกชุกต่อเนื่องและปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

                  ยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงมีฝนตกชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม และมักมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิด
                  อุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก การเริ่มต้นฤดูฝน

                  อาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

                            3)  ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม

                  ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน
                  1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น

                  หรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป ซึ่งจะหมดฝน

                  และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                        2.2.3  ปริมาณน ้าฝน
                            จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2560) ระหว่างปี 2531-2560 ปริมาณน ้าฝนรวมเฉลี่ยตลอด

                  ปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือมีค่า 1,428.9 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่า 1,513.1 มิลลิเมตร

                  ภาคกลางมีค่า 1,172.6 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกมีค่า 1,513.1 มิลลิเมตร และภาคใต้มีค่า 2,486.4 มิลลิเมตร
                  ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล

                  บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25