Page 17 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 17

บทที่ 2

                                                      ข้อมูลทั่วไป




                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างละติจูด 5 องศา

                  37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ

                  105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
                  320,696,887 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใกล้เคียงดังนี้

                        ทิศเหนือ      ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                        ทิศตะวันออก  ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา

                        ทิศใต้       ติดสหพันธรัฐมาเลเซีย
                        ทิศตะวันตก    ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และทะเลอันดามัน



                  2.1  สภาพภูมิประเทศ

                        2.1.1  ภาคเหนือ
                            ภาคเหนือมีเนื้อที่รวมประมาณ 106,027,680 ไร่ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด

                  ก าแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่

                  แม่ฮ่องสอน ล าปาง ล าพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

                            ภูมิประเทศทางภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง
                  ทอดตัวยาวจากเหนือถึงใต้และมีหุบเขาอยู่โดยทั่วไป ภูเขาสูงในทางภาคเหนือมีความส าคัญ คือ

                  เป็นต้นก าเนิดของแม่น ้าล าคลองที่ส าคัญ ไหลลงสู่ลุ่มน ้าต่างๆ ได้แก่ ลุ่มน ้าเจ้าพระยา ลุ่มน ้าโขง และลุ่มน ้า

                  สาละวิน เทือกเขาทางภาคเหนือมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,600 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ส่วน
                  ใหญ่มีความสูงมากกว่า 1,000 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และบางแห่งมีความสูงมากกว่า 1,750 เมตร

                  จากระดับทะเลปานกลาง นอกจากเทือกเขาและทิวเขาสูง ภาคเหนือยังมีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นคู่

                  กับเทือกเขาต่างๆ คือ หุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา โดยหุบเขาส่วนใหญ่จะแคบและลึก มีความยาว
                  ขนานกับสันเขา หุบเขาจะลึกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสูงของไหล่เขาทั้งสองด้านที่ประกบร่องหุบ

                  เขานั้น ส่วนแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา เป็นที่ต ่าซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ จะมีขนาดกว้างใหญ่กว่าหุบเขา เป็นที่

                  สะสมของตะกอนน ้าพากลายเป็นพื้นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์ มักเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน











                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                 ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22