Page 19 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 19

2-3





                  เกาะหมาก และเกาะกูด อยู่ในเขตจังหวัดตราด เกาะเสม็ดและเกาะมันใน อยู่ในเขตจังหวัดระยอง เกาะ

                  ล้านและเกาะสีชัง อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวัดที่ไม่ติดกับทะเล ได้แก่ จังหวัด

                  ปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว ถึงแม้ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบแคบ ๆ
                  แต่สภาพพื้นที่ก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะส าหรับการปลูกไม้ผลที่ส าคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน

                  เงาะ มังคุด และลองกอง เป็นต้น

                        2.1.5  ภาคใต้

                            ภาคใต้ มีเนื้อที่รวมประมาณ 44,196,992 ไร่ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่
                  ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

                            ภูมิประเทศของภาคใต้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือ

                  ที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทย และฝั่งทะเลตะวันตก

                  ติดทะเลอันดามัน ทะเลทั้งสองฝั่งนี้มีเกาะจ านวนมาก โดยทะเลฝั่งตะวันออกมีเกาะที่ส าคัญๆ คือ
                  เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทะเลฝั่งตะวันตก มีเกาะตะรุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง

                  เป็นต้น รวมถึงเกาะภูเก็ตซึ่งนับว่าเป็นเกาะที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจและใหญ่ที่สุดของประเทศ


                  2.2  สภาพภูมิอากาศ


                        2.2.1  ลมมรสุม
                            ประเทศไทยตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุม

                  ตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศ

                  ไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม มรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทร

                  อินเดียมาสู่ประเทศไทยท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล
                  และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น

                            ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือน

                  กุมภาพันธ์ ลมมรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจากบริเวณหย่อมความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือแถบประเทศ
                  มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิดเข้ามา

                  ปกคลุมประเทศไทยท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือ

                  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจาก
                  มรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปร

                  ไปจากปกติได้ในแต่ละปี

                        2.2.2  ฤดูกาล

                            ประเทศไทยแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24