Page 23 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 23
2-7
2.3 ทรัพยากรที่ดิน
ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญที่เป็นแหล่งในการผลิตอาหาร และรองรับกิจกรรมต่างๆ
ของมนุษย์ แต่เมื่อมีการใช้ทรัพยากรดินอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเกษตร
ซึ่งทรัพยากรดินถือว่าเป็นทรัพยากรมีความส าคัญเป็นอย่างมากต่อการเกษตรกรรม หากทรัพยากรดิน
เกิดความเสื่อมโทรม และขาดความอุดมสมบูรณ์ จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
โดยเฉพาะในปีถัดมาซึ่งมีการท าการเกษตรโดยการใช้ดินแบบไม่มีการพักดิน ขาดการบ ารุงรักษา และ
การปรับปรุงบ ารุงดินอย่างต่อเนื่องซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของเกษตรกรส าหรับพืชแต่ละชนิดที่ได้มี
การลงทุนไป
กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดกลุ่มชุดดินส าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจได้ทั้งหมด 62 กลุ่มชุดดินโดย
พิจารณาจากลักษณะ ศักยภาพ และการจัดการที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน และ เมื่อพิจารณากลุ่มชุดดิน
ทั้ง 62 กลุ่มชุดดิน ตามลักษณะและคุณสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการ
เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
รายละเอียดดังนี้
1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น ้าขัง
เป็นกลุ่มชุดดินที่มีน ้าแช่ขังหรือมีระดับน ้าใต้ดินตื้น ท าให้ดินมีการระบายน ้าค่อนข้างเลว
ถึงเลวมาก พบในทุกภาคของประเทศมีอยู่ 28 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และกลุ่มชุดดินที่ 57-59
2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง
เป็นกลุ่มชุดดินที่ไม่มีน ้าแช่ขังและมีระดับน ้าใต้ดินลึก ท าให้มีการระบายน ้าค่อนข้างดี
ถึงดีค่อนข้างมาก พบใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ ประกอบด้วย
22 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 60
และ 61
3) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น
ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง แต่พบในภาคใต้และ
พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ประกอบด้วย 11 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26
27 32 34 39 42 43 45 50 51 และ 53
4) กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง
พบในพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน