Page 27 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 27
2-11
ในการปลูกมะม่วงควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน ้าและป้องกันน ้าท่วม ปรับปรุงหลุมปลูกด้วย
ปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่
(ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา
3
500-1,100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน
7) หน่วยที่ดินที่ 7 7hi 7hi,sa 7hiI 7hiM2 7I 7IM2 7M2 7sa 7saI 7saIM2 และ7saM2
พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าค่อนข้างเลวถึงเลว
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกปานกลางถึงค่อนข้างสูงและความ
อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินล่างเนื้อดินเป็น
ดินเหนียว หากพบคราบเกลือจะมีค่าการน าไฟฟ้า 2-4 dS/m
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างแน่นทึบ ดินแห้งแข็ง ท าให้ไถพรวนยาก และน ้า
ท่วมขังในช่วงฤดูฝน ดินกลุ่มนี้ปกติใช้ท านา
แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้มีปัญหาเกี่ยวกับ
การระบายน ้าเลวหรือค่อนข้างเลว และเสี่ยงต่อน ้าท่วมขังเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
ในการปลูกมะม่วงควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน ้าและป้องกันน ้าท่วม และปรับปรุงหลุมปลูก
ด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้นมะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่
(ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 25 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
8) หน่วยที่ดินที่ 8 และ8x
พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
และดีปานกลางถึงดีในดินที่มีการจัดการเพื่อปลูกไม้ผล ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการ
แลกเปลี่ยนประจุบวกสูงและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างต ่าถึงสูง ดินบนและดินล่าง
มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติของดินเดิมก่อนมีการยกร่องและ
วิธีเตรียมแปลงปลูก โดยทั่วไปจะน าดินชั้นล่างที่มีโครงสร้างแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ของดินต ่ามาก
ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมาก หรือเป็นดินเค็มมาไว้ที่ผิวดิน ท าให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง ดินกลุ่มนี้ได้มีการพัฒนาและ
ปรับปรุงสภาพพื้นที่เดิม โดยมีการท าคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน ้าท่วมและน ้าทะเลเข้าถึง และ
มีการยกร่องปลูกไม้พืชผล พืชผักและพืชไร่อย่างถาวร การปรับปรุงเพื่อปลูกไม้ผลเช่น มะม่วง ควรให้
มีการสูบน ้าออกจากร่องสวนเพื่อให้การระบายน ้าของดินดีขึ้น ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการใช้ปุ๋ ย
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน