Page 29 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 29
2-13
11) หน่วยที่ดินที่ 11 11I 11M2 และ11IM2
พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าเลว ดินมีความอุดม
สมบูรณ์ต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างต ่า
ถึงปานกลาง ดินบนและดินล่าง เนื้อดินเป็นดินเหนียว มีความลึกของชั้นจาโรไซต์ที่ 50-100
เซนติเมตร
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมาก ท าให้มีผลต่อการละลายของ
สารประกอบในดิน โดยแร่ธาตุอาหารพืชพวกฟอสฟอรัสจะถูกตรึงให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช
ท าให้พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส ในขณะเดียวกันจะมีสารละลายพวกอะลูมินั่มและเหล็กเป็นปริมาณมาก
จนเป็นพิษต่อพืช
แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นกรดจัด มีการ
ระบายน ้าเลวหรือค่อนข้างเลว และมีน ้าท่วมขังเป็นเวลานานในช่วงฤดูฝน ในการปลูกมะม่วงควรยกร่อง
ปลูกเพื่อช่วยการระบายน ้าและป้องกันน ้าท่วม ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ ยอินทรีย์หรือปุ๋ ยหมัก โดยต้น
มะม่วงขนาดเล็กใส่อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น ต้นมะม่วงขนาดใหญ่ (ขนาดทรงพุ่ม 5 เมตร) ใส่อัตรา 25
กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
และในบางพื้นที่ที่ดินเป็นกรดใช้หินปูนบด (CaCO ) อัตรา 1,100-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็น
3
ประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน
12) หน่วยที่ดินที่ 12
พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าเลวมาก ดินมีความอุดม
สมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง
ดินบนและดินล่าง เนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินเลนมีโครงสร้างเลวและเป็นดินเค็มไม่เหมาะที่
จะน ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังคงมีน ้าทะเลท่วมถึงอยู่เป็นประจ า
แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจมะม่วง ไม่แนะน าให้ปลูก เพราะต้องลงทุน
แก้ไขข้อจ ากัดสูง ควรใช้ปลูกป่าชายเลนหรือบางพื้นที่ใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าหรือท านาเกลือ และพื้นที่
ชายทะเลควรสงวนไว้เป็นป่าชายเลนเพื่อเป็นแนวกันชนของคลื่นลม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น ้า
ต่อไป
13) หน่วยที่ดินที่ 13
พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน ้าเลวมาก ดินมีความอุดม
สมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน