Page 18 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 18

2-2






                        2.1.2  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีเนื้อที่รวมประมาณ 105,533,963 ไร่ หรือ 1 ใน 3

                  ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม

                  นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์
                  หนองคาย หนองบัวล าภู อ านาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี

                            ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยกตัวสูงเป็นขอบอยู่ทางทิศตะวันตก

                  และทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปของภาค พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อ
                  เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่

                  แม่น ้าโขง บริเวณตอนในค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีทิวเขาเตี้ยๆ เรียกว่า ทิวเขาภูพาน และมี

                  ภูเขากระจัดกระจายไม่เป็นทิวเขา ท าให้ลักษณะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งที่

                  ราบใหญ่ 2 ตอน คือ แอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ซึ่งพื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูป
                  แอกเป็นจ านวนมาก

                        2.1.3  ภาคกลาง

                            ภาคกลางมีเนื้อที่รวมประมาณ 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครอง
                  พิเศษ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์

                  พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี

                  สุพรรณบุรี และอ่างทอง และเขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
                            ภูมิประเทศของภาคกลางส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากแม่น ้าพัดพาเอาเศษหิน

                  เศษดิน กรวด ทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเป็นเวลานาน มีลักษณะลาดลงมาทางทิศใต้ พื้นที่ราบ

                  ส่วนใหญ่มีความสูงโดยประมาณน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ภูมิประเทศตอนบนของ

                  ภาคกลางเป็นที่ราบลูกฟูก มีภูเขาเป็นแนวต่อเนื่องจากภาคเหนือ เข้ามาถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัด
                  พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างของภาคนั้นเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น ้าเจ้าพระยา

                  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น ้าปิง วัง ยม และแม่น ้าน่าน นอกจากแม่น ้าเจ้าพระยาแล้ว ตอนล่างของ

                  ภาคยังมีแม่น ้าไหลผ่านอีกหลายสาย บริเวณนี้จึงเป็นที่ราบกว้างขวางซึ่งเกิดจากดินตะกอน หรือดินเหนียว
                  ที่แม่น ้าพัดพามาทับถมกันเป็นเวลานาน จึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก

                        2.1.4  ภาคตะวันออก

                            ภาคตะวันออก มีเนื้อที่รวมประมาณ 21,487,812 ไร่ ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด

                  จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
                            ภูมิประเทศของภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขา แนวเทือกเขา ที่ราบแคบๆ

                  และชายฝั่งทะเล ฝั่งทะเลของภาคตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่งที่ส าคัญ เช่น เกาะช้าง






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23