Page 14 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 14
1-2
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินส าหรับปลูกมะม่วง ให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ สังคม
และเศรษฐกิจ ตลอดจนกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อเป็นกรอบในการก าหนดแผนการผลิต การตลาด และการส่งออกส าหรับพืชเศรษฐกิจ
มะม่วง ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และทิศทางความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรม
ต่อเนื่อง
3) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการก าหนดแผนงานพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจมะม่วงในระดับพื้นที่
1.3 ระยะเวลำและขอบเขตกำรด ำเนินงำน
1.3.1 ระยะเวลำด ำเนินงำน 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษำ พื้นที่ปลูกมะม่วงเพื่อการค้าของประเทศไทย
1.3.3 พืชเศรษฐกิจมะม่วง พันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง พันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4 และพันธุ์เขียวเสวย
1.4 ขั้นตอนและวิธีกำรด ำเนินงำน
1.4.1 กำรรวบรวมข้อมูลทั่วไป
การรวบรวมข้อมูล ได้จากการเก็บข้อมูลในภาคสนาม และจากหน่วยงานราชการทั้งใน
และนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลทั่วไปได้แก่ ข้อมูลที่
น ามาใช้เป็นฐานในการศึกษา และวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย และข้อมูลเชิงพื้นที่
ดังนี้
1) ข้อมูลเชิงอรรถำธิบำย ได้แก่ ข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภูมิอากาศ
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน ้า ทรัพยากรป่าไม้ สภาพการใช้ที่ดิน การเพาะปลูกมะม่วงในประเทศไทย
สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติการค้าและการส่งออกมะม่วง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส าหรับการเพาะปลูก
มะม่วง ข้อมูลด้านการตลาดและราคาผลผลิต รวมถึงนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาต่างๆ ของ
หน่วยงานราชการ
2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ขอบเขตการปกครอง แผนที่กลุ่มชุดดิน
แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ ขอบเขตนิคมสหกรณ์
(รูปนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 และรูปสหกรณ์การเช่าที่ดิน)
ขอบเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) ขอบเขตชลประทาน แผนที่เส้นชั้นน ้าฝนของประเทศไทย
ระหว่างปี 2523-2552
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน