Page 13 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 13
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดส่งออก
นอกเหนือจากไม้ผลชนิดอื่นๆ ซึ่งตลาดส่งออกมะม่วงที่ส าคัญได้แก่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สหพันธรัฐ
มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้วมะม่วงยังเป็นไม้ผลที่ได้รับความสนใจ
จากเกษตรกรอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินและ
สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยแทบทุกชนิด
อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงยังเผชิญปัญหาด้านราคาที่ผันผวนของมะม่วง เกษตรกร
ประสบภาวะขาดทุนเป็ นประจ าทุกปี เนื่องจากการวางแผนด้านการตลาดอย่างไม่เหมาะสม
ราคาปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านโรคแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ และสภาพ
ภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออ านวยที่เป็นปัญหาที่รุนแรงต่อการผลิตมะม่วง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการและ
แนวทางส าหรับเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง เพื่อเป็นการพัฒนาและแก้ไขปัญหามะม่วงทั้งระบบ ทั้งการ
ผลิต การแปรรูป และการตลาดทั้งภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีทิศทาง
การด าเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถด าเนินงานให้สอดรับกันอย่างเป็นเอกภาพ ส่งผลให้
เกษตรกรชาวสวนมะม่วงมีรายได้ที่มั่นคง และมีความสามารถในการแข่งขัน
กรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการฟื้นฟู ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความ
อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต และการวางแผนการใช้ที่ดินให้มีความเหมาะสมกับสภาพ
พื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ได้ด าเนินการก าหนดเขตพื้นที่
ที่เหมาะสมส าหรับการปลูกมะม่วงครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่า
สินค้ามะม่วง เกษตรกรสามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกประเทศได้อย่างยั่งยืน รองรับการเปลี่ยนแปลง
ทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านเศรษฐกิจสังคม นอกจากนี้การก าหนดเขตการใช้ที่ดินส าหรับมะม่วง
ยังสามารถน ามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการผลิตมะม่วงให้สอดคล้องตามความต้องการของ
ตลาดได้อย่างเป็นระบบ
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน