Page 43 - Plan GI
P. 43

2-27






                                         (1.3) การเก็บเกี่ยวผลผลิต

                                              การเก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความแก (สุก) ตามมาตรฐานหลังการ
                  บังคับดอก 145 - 165 วัน หามใชสารเคมีทุกชนิดเรงใหสับปะรดสุกกอนกำหนด คัดทิ้งสับปะรดที่มีผลแกน
                  แดดเผา ขนาดใหญหรือเล็กเกินมาตรฐาน หรือผลที่มีรูปทรงเจดียหลังเก็บเกี่ยวควรสงโรงงานทันที

                  ไมควรทิ้งไวนานจะทำใหสับปะรดสุกเกินไป
                                    (2)  การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
                                         (2.1) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บสับปะรดมีทั้งการเก็บ และคัดบรรจุ
                  ในแปลงหรืออาจจะเก็บจากแปลงแลวขนสงมาทำความสะอาดในโรงงานคัดบรรจุก็ไดสับปะรดที่ขาย

                  เพื่อรับประทานผลสด และสงออกจะลางทำความสะอาดกอนเคลือบไขพรอมผสมน้ำยาปองกันเชื้อรา
                  หลังจากเคลือบไขจะทำใหแหงโดยการเปาลมรอน จากนั้นทำการคัดเกรดโดยใชน้ำหนักเปนเกณฑ
                  กอนจะบรรจุกลองตามเกรดตาง ๆ เพื่อสงจำหนาย อยางไรก็ดีสับปะรดที่ขายเพื่อรับประทานสดในเมืองไทย
                  ยังไมมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีเทียบเทาตางประเทศ

                                         (2.2) การเก็บรักษาผลผลิต การเก็บรักษาสับปะรดที่เก็บเกี่ยวมาแลว
                  ควรจะเก็บที่อุณหภูมิ 8 - 11 องศาเซลเซียส โดยสับปะรดเบอร 0 - 1 จะเก็บได 3 สัปดาหที่อุณหภูมิ
                  11 องศาเซลเซียส แตถาเก็บไวในอุณหภูมิหองจะเก็บไดประมาณ 8 วัน ในขณะที่เบอร 2 - 4 จะเก็บได
                  3 องศาเซลเซียส สับปะรดที่สุกมากจะทนอุณหภูมิต่ำไดดีกวาที่สุกนอย ซึ่งสามารถเก็บไดประมาณ

                  2 - 3 สัปดาห แตไมควรเก็บรักษาไวที่อุณหภูมิต่ำกวา 7 องศาเซลเซียส เพราะจะเกิดอาการสะทานหนาว
                  (chilling injury) ผลสับปะรดที่จะเก็บในหองเย็นควรจุมน้ำยาปองกันกำจัดเชื้อรา sodium
                  orthophenylphenate อัตรา 1 กิโลกรัมตอน้ำ 80 ลิตร ใหทั่วผลและจุก และเก็บในหองเย็นที่มี
                  ความชื้นสัมพัทธประมาณ 85 - 90 เปอรเซ็นต

                                         (2.3) การบรรจุหีบหอ รายละเอียดบนฉลาก ใหประกอบคำวา “สับปะรดทาอุเทน”
                  หรือ “Subparod Tha Uthen” หรือ “Tha Uthen Pineapple” การใชตราสัญลักษณสิ่งบงชี้
                  ทางภูมิศาสตรไทยใหใชสำหรับผลผลิตสับปะรดทาอุเทน ที่จำหนายในชวงเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม
                             2.3.3.5 ลิ้นจี่นครพนม

                                    (1)  การจัดการในระบบการเพาะปลูก
                                         (1.1) การเตรียมดินและการปลูก
                                              การเตรียมดิน ลิ้นจี่ตองการดินที่มีความอุดมสมบูรณสูงหรือปานกลาง

                  มีการระบายน้ำดีเปนพิเศษ ดังนั้นควรปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่สูงพอสมควร เพราะมีการระบายน้ำที่ดี มีคา
                  ความเปนกรดและดาง (pH) 5.5 - 6.5 ระยะปลูก 8 x 8 เมตร (ระยะระหวางตน x ระยะระหวางแถว)
                  ปลูกได 25 ตนตอไร หรือ 10 x 10 เมตร ปลูกได 16 ตนตอไร ขนาดของหลุมปลูกนั้น ถาดินมีความอุดม
                  สมบูรณดี ใชขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร (กวาง x ยาว x ลึก) ถาดินที่มีความอุดมสมบูรณนอย
                  ใชขนาด 80 x 80 x 80 เซนติเมตร การขุดหลุมควรแยกดินออกเปน 2 สวน คือ ดินชั้นบนและดินชั้นลาง

                  ควรนำเอาดินชั้นบนผสมกับปุยคอกหรือปุยหมัก ประมาณ 1 ปบ และใสรอคฟอสเฟตหรือกระดูกปนอีก
                  100 กรัม คลุกเคลาดินกับปุยใหเขากันนำไปใสลงหลุมเอาดินชั้นลางกลบทับดินชั้นบนใหเต็มหลุมใหสูงกวา
                  ปากหลุม ประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร กดดินใหแนน คลุมโคนโดยรอบดวยเศษวัชพืชหรือฟางขาว

                  ใชไมหลักปกยึดลำตนกันลมโยกคลอน และรดน้ำตามทันที





                  แผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย          กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48