Page 152 - Phetchaburi
P. 152

3-76





                  โดยจะมีสิ่งเจือปนที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการตกตะกอนอันประกอบดวย โคลน ทราย แรเหล็กออกไซดแรซิลิเกต

                  ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีสสารประกอบอินทรีย ฯลฯ ซึ่งเกิดปะปนในปริมาณ
                  ที่แตกตางกันออกไปตามสภาวะแวดลอมขณะที่มีการตกตะกอนหินปูนที่สามารถนํามาใชในการผลิต
                  ปูนซีเมนตไดจะตองมีองคประกอบ ดังนี้

                               - ปริมาณแคลเซียมออกไซด (CaO) มากกวารอยละ 48 หรือ แคลเซียมคารบอเนต
                  (CaCO3) มากกวารอยละ 87
                               - ปริมาณแมกนีเซียมออกไซด (MgO) นอยกวารอยละ 3
                               - ปริมาณซิลิกาออกไซด (SiO2) นอยกวารอยละ 5

                               - ปริมาณ P2O5 และ SO3 นอยกวารอยละ 1
                               - ปริมาณ Total alkaline นอยกวารอยละ 0.6

                               นอกจากนี้ยังตองคำนึงถึงมลทินอื่นๆ ที่อยูในเนื้อหินปูน ซึ่งจะกระทบตอคุณภาพของ
                  ปูนซีเมนตในกระบวนการผลิต ไดแกแมกนีเซียม ฟลูออรีน ฟอสฟอรัส ตะกั่ว สังกะสีเหล็ก แมงกานีส
                  อัลคาไลนและซัลไฟด เปนตน

                               สำหรับมาตรฐานของหินปูนที่ใชในงานซีเมนตในประเทศไทย จะมีองคประกอบ ดังนี้

                               - ปริมาณ CaO รอยละ 53.23 - 55.47 หรือ CaCO3 รอยละ 95 - 99
                               - ปริมาณ SiO2 มากกวารอยละ 1.0

                               โดยทั่วไปวัตถุดิบที่ใชในการผลิตปูนซีเมนตประกอบดวยสวนผสมของหินปูนประมาณ
                  รอยละ 75 และหินดินดานประมาณรอยละ 25 นำมาเผาใหสวนผสมกลายเปนปูนเม็ด (calcium
                  silicate clinker) จากนั้นนำไปบดและผสมกับแรยิปซัม ซึ่งเปนสารที่ทำใหปูนไมจับตัวแข็งกอนนำไปใช

                  อยางไรก็ตามยังมีปูนซีเมนตพิเศษบางชนิดที่ใชขอกําหนดพิเศษแตกตางออกไป เชน ปูนซีเมนตทนซัลเฟต
                  ปูนซีเมนตที่ใชในหลุมเจาะน้ำมันและปูนซีเมนตขาว ซึ่งกำหนดใหตองมีองคประกอบของ Fe 2O3 นอยกวา
                  รอยละ 0.01 และแมงกานีส (Mn) ต่ำมาก แหลงหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนตในจังหวัดเพชรบุรี
                  มีลักษณะเปนเขาลูกโดด แนวเขาสวนใหญวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใตพบ

                  กระจายตัวมากทางทิศเหนือของจังหวัด บริเวณเขาอิบิด ตำบลหนองชุมพลเหนือ เขาอีโก
                  เขาสะแก ตำบลหนองชุมพล เขากลิ้ง ตำบลสระพัง และเขายอย ตำบลเขายอย อำเภอเขายอย
                  นอกจากนี้ยังพบบริเวณเขาเจาลายใหญ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ มีพื้นที่แหลงแรจำนวน 7 แหลง

                  เนื้อที่รวม 4.30 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณทรัพยากรแรสำรองมีศักยภาพเปนไปไดเทากับ
                  539.87 ลานเมตริกตัน
                               ปจจุบันจังหวัดเพชรบุรี มีประทานบัตรหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนตจํานวน 2 แปลง
                  บริเวณเขามันหมู ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ ของบริษัท ชลประทานซีเมนตจํากัด (มหาชน) ซึ่งยัง
                  ดําเนินการอยูในรอบ 10 ปที่ผานมา (ป พ.ศ.2541-2550) พบวา ผลผลิตหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต

                  มีมากเปนอันดับ 1 ของจังหวัด มีผลผลิตโดยรวม 6.73 ลานเมตริกตัน มูลคาโดยรวม 572.28 ลานบาท
                  โดยผลผลิตปพ.ศ.2542 มีผลผลิตมากที่สุด 0.90 ลานเมตริกตัน มูลคา 76.12 ลานบาท รองลงมาไดแก
                  ป พ.ศ. 2541 มีผลผลิต 0.89 ลานเมตริกตัน มูลคา 75.87 ลานบาท ในขณะที่ป พ.ศ. 2544 มีผลผลิต

                  นอยที่สุด 0.49 ลานเมตริกตัน มูลคา 41.57 ลานบาท
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157