Page 190 - Chumphon
P. 190

5-8





                                        - ใบอนุญาตโรงงานแปรรูปไม้ควรมีเพียงฉบับเดียว ซึ่งสามารถแปรรูปไม้

                  ทั้งเลื่อยซุง อบไสซอย แปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือไม้แปรรูปเพื่อการค้าในประเทศและส่งออก
                                        - ควรปรับปรุง/ยกเลิก พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไข
                  2555 โดยเลื่อยโซ่ยนต์ทุกขนาดต้องลงทะเบียนกับผู้ขายหรือผู้ผลิต อีกทั้งเมื่อจดทะเบียนแล้วควรขยาย

                  ขอบเขตการใช้งานในต่างพื้นที่ได้
                                        - ทบทวนอายุใบอนุญาตแปรรูปไม้ ประเภทโรงงานให้มีอายุมากขึ้น
                  หรือสอดคล้องกับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการมีอายุ 5 ปี ดังนั้นใบอนุญาต
                  การแปรรูปไม้ ควรมีอายุ 5 ปีเท่ากัน
                                        - ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติของพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เรื่องใบเบิกทาง

                  และใบกำกับไม้ ด้วยการลดขั้นตอนเพื่อให้สะดวก มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                                        - สนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นำทุกส่วนของไม้มาใช้
                  ประโยชน์

                                        - การลดนำข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน
                  ทดแทน
                                        - พื้นที่ลาดชันเกิน 35% ไม่ควรอนุญาตให้มีการออกโฉนด/หนังสือ
                  รับรองการทำประโยชน์

                                  3) เขตคงสภาพป่าไม้นอกเขตป่าตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี
                  มีเนื้อที่ประมาณ 139,258 ไร่ หรือร้อยละ 3.71 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร เขตนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนด
                  เป็นบริเวณที่อยู่นอกเขตป่าตามกฎหมาย แต่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าสมบูรณ์หรือป่าเสื่อมโทรม
                  และพบว่าบางพื้นที่มีการอนุรักษ์ไว้เป็นป่าชุมชน และอาศัยป่าดังกล่าวในการหาของป่าเพื่อมาบริโภค

                  ภายในครัวเรือนหรือจำหน่าย
                                    (1)   เขตบำรุงรักษาสภาพป่า1 (หน่วยแผนที่ 141) มีเนื้อที่ 112,248 ไร่
                  หรือร้อยละ 2.99 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร พื้นที่ในเขตนี้มีสภาพเป็นป่าไม้สมบูรณ์ หรือป่าละเมาะ
                                        ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่

                                        - ควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ
                                        - ควรมีการบำรุงรักษาสภาพป่าธรรมชาติตามหลักวิชาการ
                                        - ควรปลูกไม้ป่าเพิ่มเติม เพิ่มความหลากหลายชนิพืชพรรณป่าไม้

                                        - ควรส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงเห็นคุณค่าของ
                  ทรัพยากรป่าไม้และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ในพื้นที่เพื่อเป็นการรักษาสภาพป่าไม้ให้สมบูรณ์
                  และให้ทรัพยากรป่าไม้มีผลผลิตสม่ำเสมอตลอดไป ในขณะเดียวกันควรกำหนดมาตรการในการใช้
                  ประโยชน์จากป่าไม้และการหาของป่าร่วมกันระหว่างองค์กรของราษฎรในพื้นที่และเสริมความรู้ให้เห็น
                  ความสำคัญของป่าไม้ ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรเร่งดำเนินการ

                  สำรวจและวางมาตรการป้องกันและรักษาสภาพป่าให้สมบูรณ์
                                    (2)   เขตฟื้นฟูสภาพป่า3 (หน่วยแผนที่ 142) มีเนื้อที่ 27,010 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ควรสงวนพื้นที่เพื่อการ

                  อนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ ต่อมามีการ
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195