Page 194 - Chumphon
P. 194

5-12





                  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดินใน

                  ปัจจุบันส่วนใหญ่ไม้ยืนต้น เช่น สะเดา ทองหลาง เป็นต้น มีไม้ผลผสมรือพืชผัก พื้นที่เขตนี้มีศักยภาพปาน
                  กลางถึงสูงสำหรับปลูกไม้ผลหรือพืชผัก สามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน
                                    (5)   เขตปลูกพืชสวน (หน่วยแผนที่ 215) มีเนื้อที่ 259 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ  0.01 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
                  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดิน
                  ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชผักหรือไม้ประดับ ซึ่งที่พบมาก เช่น ผักกาด และฟักทอง เป็นต้น ที่เขตนี้
                  มีศักยภาพปานกลางถึงสูงสำหรับปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น สามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน
                                    (6)   เขตปศุสัตว์ (หน่วยแผนที่ 228) มีเนื้อที่ 37,267 ไร่ หรือร้อยละ

                  0.99 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพการใช้ที่ดินที่พบเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และดินมีความอุดม
                  สมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน หญ้าเป็นอาหารของ
                  สัตว์หลายชนิด ไม่เฉพาะแต่วัว ควาย แพะ แกะ ม้า ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ สัตว์ตัวเล็ก ๆ เช่น กระต่าย หรือ

                  หนูบางชนิด การปลูกหญ้าทำทุ่งเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพที่เอื้อประโยชน์แก่สัตว์ เป็นเรื่องที่ใช้ความรู้
                  ทั้งด้านพืช ดิน ปุ๋ย รวมทั้งการเลี้ยง และดูแลสัตว์ด้วย พื้นที่ที่จะใช้ปลูก อาจทำได้ในพื้นที่ขนาดต่าง ๆ
                  เช่น อาจปลูกแบบหญ้าสวนครัว ในพื้นที่ที่ว่าง สำหรับตัดให้สัตว์กิน หรือปลูกเป็นทุ่งใหญ่ สำหรับปล่อย
                  สัตว์เข้าไปแทะเล็ม หรืออาจปลูกผสมผสานแซมในสวนไม้ผล เช่นตาลโตนด มะพร้าว อินทผาลัม

                  แล้วเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป ทำให้เกิดรายได้เสริมแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ไปในตัว นอกจากเกษตรกรทำเกษตรกรรม
                  ด้านการปลูกพืชแล้ว เกษตรกรยังเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย โดยสัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค หรือกระบือ
                  วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงที่สำคัญคือ เพื่อใช้ในการบริโภค ตลอดจนการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายและเลี้ยงไว้
                  ใช้แรงงาน ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีพื้นที่ในเขตนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ดังกล่าว

                                    (7)   เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (หน่วยแผนที่ 229) มีเนื้อที่ 21,414 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.57 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
                  ดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างดี การเลี้ยงสัตว์น้ำนับได้ว่ามีความสำคัญในวัฏจักร
                  ของสัตว์น้ำ และเป็นเวลาที่ยาวนานกว่าการเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำ การเลี้ยงที่ดีจำเป็นต้องอาศัย

                  การดูแลให้ถูกวิธี เลี้ยงถูกขั้นตอนและประหยัดต้นทุน ผลิตสัตว์น้ำที่มีคุณภาพ สามารถจำหน่ายได้ใน
                  ราคาที่ดีส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยง ซึ่งจะมีขั้นตอนระบบ ประเภทและลักษณะของ
                  การเลี้ยงแตกต่างกันออกไป นอกจากเกษตรกรทำเกษตรกรรมปลูกพืชแล้ว เกษตรกรยังทำประมงควบคู่กัน

                  ไปด้วย โดยปลาที่นิยมเลี้ยงได้แก่ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาสวาย วัตถุประสงค์ของการเลี้ยง
                  ที่สำคัญคือ เพื่อใช้ในการบริโภค ตลอดจนการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายในท้องถิ่น ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี
                  พื้นที่ในเขตนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารประเภทโปรตีน
                                    ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                    - ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

                  หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินเพิ่มการอุ้มน้ำของดินและเพิ่มธาตุอาหารที่เป็น
                  ประโยชน์สำหรับพืช ร่วมกับการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
                                    - ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในแปลงนาข้าว เพื่อควบคุมระดับการขังของน้ำ

                  ในระหว่างการเพาะปลูกให้เหมาะสม
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199