Page 192 - Chumphon
P. 192

5-10





                  เกษตรกรสามารถเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก ทำเกษตรผสมผสาน

                  เกษตรอินทรีย์ได้
                                    (3)   เขตปลูกไม้ผล (หน่วยแผนที่ 213) มีเนื้อที่ 8,478 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.23 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

                  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดิน
                  ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่พบมาก เช่น มะม่วง ส้มโอ มะพร้าว และกล้วยไข่ เป็นต้น พื้นที่เขตนี้มี
                  ศักยภาพปานกลางถึงสูงสำหรับปลูกไม้ผลหรือพืชผัก ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้
                                    (4)   เขตปลูกไม้ยืนต้น (หน่วยแผนที่ 214) มีเนื้อที่ 20,502 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.55 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

                  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดิน
                  ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา สะเดา กระถินเทพา เป็นต้น พื้นที่เขตนี้มีศักยภาพ
                  ปานกลางถึงสูงสำหรับปลูกไม้ผลหรือพืชผัก สามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้

                                    (5)   เขตปศุสัตว์ (หน่วยแผนที่ 218) มีเนื้อที่ 684 ไร่ หรือร้อยละ 0.02
                  ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพการใช้ที่ดินที่พบเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และดินมีความอุดม
                  สมบูรณ์ปานกลาง มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด หญ้าเป็นอาหารของ
                  สัตว์หลายชนิด ไม่เฉพาะแต่วัว ควาย แพะ แกะ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ สัตว์ตัวเล็กๆ เช่น กระต่าย หรือหนูบางชนิด

                  ก็กินหญ้าเช่นเดียวกัน บางครั้งแมวหรือสุนัขเล็มยอดหญ้าเพื่อเป็นยารักษาตัวสัตว์เอง การปลูกหญ้าทำ
                  ทุ่งเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพที่เอื้อประโยชน์แก่สัตว์ เป็นเรื่องที่ใช้ความรู้ ทั้งด้านพืช ดิน ปุ๋ย รวมทั้งการเลี้ยง
                  และดูแลสัตว์ด้วย พื้นที่ที่จะใช้ปลูก อาจทำได้ในพื้นที่ขนาดต่างๆ เช่น อาจปลูกแบบหญ้าสวนครัว
                  ในพื้นที่ที่ว่าง สำหรับตัดให้สัตว์กิน หรือปลูกเป็นทุ่งใหญ่ สำหรับปล่อยสัตว์เข้าไปแทะเล็ม หรืออาจปลูก

                  ผสมผสานแซมในสวนไม้ผล เช่นตาลโตนด มะพร้าว อินทผลัม แล้วเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป ทำให้เกิด
                  รายได้เสริมแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ไปในตัว นอกจากเกษตรกรทำเกษตรกรรมด้านการปลูกพืชแล้ว เกษตรกรยัง
                  เลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย โดยสัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ หรือแพะ วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงที่
                  สำคัญคือ เพื่อใช้ในการบริโภค ตลอดจนการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีพื้นที่ในเขตนี้

                  เพื่อเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ดังกล่าว
                                    ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่เขตเกษตรกรรมชั้นดี
                                    - ควรพัฒนาเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

                                    - ควรพัฒนาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของพืช และสัตว์ ปลา เพิ่มขึ้น
                                    - แปลงนาข้าว ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในให้สม่ำเสมอ เพื่อควบคุม
                  ระดับการขังของน้ำในระหว่างการเพาะปลูกให้เหมาะสม
                                    - ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
                  หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน และเพิ่มธาตุอาหารที่เป็น

                  ประโยชน์สำหรับพืช ร่วมกับการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
                                    - ควรปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน
                                    - แนะนำให้มีการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

                  รวมถึงการแนะนำส่งเสริมให้มีการปลูกพืช และไถพรวนขวางความลาดชันของพื้นที่
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197