Page 191 - Chumphon
P. 191

5-9





                  บุกรุกที่ดิน มีการตัดต้นไม้เพื่อใช้ประโยชน์และนำที่ดินมาใช้ด้านเกษตรกรรมในระยะเวลาหนึ่ง

                  เมื่อดินเสื่อมสภาพลงส่งผลให้ ผลผลิตทางการเกษตรลดลงจนไม่คุ้มกับการลงทุน เกษตรกรที่ครอบครองที่ดิน
                  ก็ปล่อยให้เป็นที่รกร้าง แต่เนื่องจากพื้นที่นี้มีลูกไม้ของพันธุ์ไม้ดั้งเดิม ถ้าไม่มีการรบกวนพื้นที่โดยเฉพาะ
                  อย่างยิ่งกับการใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรม สภาพป่าไม้ก็สามารถกลับฟื้นตัวขึ้นมาเป็นป่าไม้

                  ที่สมบูรณ์ได้อีกครั้ง
                                        ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                        ชุมชนควรมีมาตรการในการป้องกันรักษาสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์
                  ให้คงสภาพดังกล่าวไว้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพื้นที่
                  ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรเร่งดำเนินการสำรวจและวางมาตรการ

                  ป้องกันและรักษาสภาพป่าให้สมบูรณ์
                            3.7.2.2  เขตเกษตรกรรม มีเนื้อที่ 1,600,496 ไร่ หรือร้อยละ 42.62 ของพื้นที่
                  จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตการเกษตรนี้เป็นบริเวณที่อยู่นอกเขตที่มีการประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย

                  เขตนี้เกษตรกรมีการใช้พื้นที่เพื่อทำการเกษตร เช่น นาข้าว พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ยืนต้น แต่เมื่อพิจารณา
                  ถึงความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการเกษตรและทิศทางการพัฒนาพื้นที่นี้ สามารถแบ่งพื้นที่เขต
                  การเกษตรเป็น 3 เขต คือ เขตเกษตรพัฒนา เขตเกษตรก้าวหน้า และเขตเร่งรัดพัฒนาการเกษตร
                  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                  1) เขตการเกษตรชั้นดี พื้นที่ของเขตนี้กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมใน
                  พื้นที่ชลประทาน และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) มีเนื้อที่ 34,481 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.92 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร พื้นที่ในเขตนี้มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
                  เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มีการระบายน้ำเลวหรือดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

                  ปานกลางถึงสูง และเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาระบบน้ำชลประทานหรือระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อการ
                  เพาะปลูก ดังนั้น ในช่วงฤดูแล้งหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ เกษตรกร
                  สามารถปลูกพืชครั้งที่สองโดยเฉพาะข้าวนาปรัง หรือพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น
                  พื้นที่เขตเกษตรกรรมชั้นดีสามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตได้เป็น 6 เขต ตามศักยภาพและ

                  ความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
                                    (1)   เขตทำนา (หน่วยแผนที่ 211) มีเนื้อที่ 4,760 ไร่ หรือร้อยละ 0.13
                  ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินที่พบเป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก

                  มีการระบายน้ำเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง เขตนี้กำหนดให้เป็น
                  เขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกข้าวโดยน้ำชลประทานเป็นหลัก เกษตรกรสามารถเปลี่ยนการใช้ที่ดิน
                  จากการปลูกข้าวมาเป็นการทำเกษตรผสมผสาน ทำเกษตรอินทรีย์ได้ และมีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                                    (2)   เขตปลูกพืชไร่ (หน่วยแผนที่ 212) มีเนื้อที่ 57 ไร่ ในเขตนี้สภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างเรียบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินที่พบเป็นดินลึกถึงลึกมาก มีการระบายน้ำดี

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชไร่
                  เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น พื้นที่เขตนี้กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่พื้นที่
                  ที่มีการพัฒนาระบบน้ำชลประทานแต่ระบบส่งน้ำไม่ทั่วถึงหากมีระบบส่งน้ำแล้ว หรือมีสระน้ำในไร่นา
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196