Page 195 - Chumphon
P. 195

5-13





                                    - ปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้มีการกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น

                                    - ควรเพิ่มกิจกรรมการผลิต พืช ปศุสัตว์ ประมง ให้มีความเกื้อกูลกัน
                                    - พิจารณาดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ รวมทั้งการปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้มีการกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น

                                    - ควรพัฒนาสระน้ำในไร่ที่มีขนาดพื้นที่ถือครอง เท่ากับหรือมากกว่า 10 ไร่
                                    - ควรมีการขุดลอกคลองและเพิ่มท่อลอดตามถนนสายหลักที่สร้างขวาง
                  ทางเดินน้ำ เพื่อการระบายน้ำในพื้นที่ปลูกข้าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ให้เกิดน้ำแช่ขังเป็นเวลานานจน
                  ข้าวเสียหาย
                                  3) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ำ มีเนื้อที่ 302,126 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 8.04 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตนี้ถูกกำหนดให้เป็นเขตการเกษตร ที่ต้องมีการดำเนินการ
                  แก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่างๆ เช่น ดินค่อนข้างเป็นดินทราย ดินตื้น
                  เนื้อดินปนกรวด ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ รวมทั้งปริมาณ

                  ธาตุอาหารพืชในดินมีปริมาณต่ำ โดยผลการประเมินความเหมาะสมของที่ดินเขตนี้สำหรับการปลูกข้าว
                  และพืชไร่อยู่ในระดับเหมาะสมเล็กน้อย จากข้อจำกัดการใช้ที่ดินดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
                  ในการพัฒนาปรับปรุงและมีมาตรการเฉพาะเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรกรรมในพื้นที่ให้สูงขึ้นรวมถึง
                  การป้องกันระบบนิเวศมิให้เสื่อมโทรมจากการใช้พื้นที่ในเขตนี้ ดังนั้นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

                  จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่เขตนี้เป็นพิเศษ โดยเขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพ
                  การผลิตต่ำนี้ สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 4 เขต ตามศักยภาพและความเหมาะสมของที่ดินได้ดังนี้
                                    (1)   เขตทำนา (หน่วยแผนที่ 231) มีเนื้อที่ 819  ไร่ หรือร้อยละ 0.02
                  ของพื้นที่จังหวัดชุมพร มีสภาพพื้นราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย

                  ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำดีปานกลาง มีปัญหาความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ
                  เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย เป็นดินตื้น เนื้อดินปนกรวด บางพื้นที่มีการท่วมขังของน้ำ พื้นที่ในเขตนี้ดินมี
                  ความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวเล็กน้อย สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้
                  ที่ดินเพื่อการปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก สามารถปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน

                                        ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                        - ควรเป็นพื้นที่เป้าหมายในการเร่งรัดพัฒนาแก้ปัญหา ดินเป็นทราย
                  จัดหรือดินค่อนข้างเป็นดินทราย ดินตื้น พื้นที่ดินเค็ม และพื้นที่น้ำท่วมขัง พร้อมทั้งปรับปรุงบำรุงดิน

                  อนุรักษ์ดินและน้ำ ตามแนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน
                                        - พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาและปรับเปลี่ยนข้าวพันธุ์ดีให้
                  เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยยึดแนวทางการใช้ที่ดินแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรแบบผสมผสาน
                  เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
                                        - ส่งเสริมอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตรกรในเขตนี้

                                        - ควรลดพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม เป็นระบบเกษตรผสมผสาน
                                    (2)   เขตปลูกพืชไร่ (หน่วยแผนที่ 232) มีเนื้อที่ 876 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.02 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินที่พบส่วนใหญ่
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200