Page 193 - Chumphon
P. 193

5-11





                                    - พัฒนาองค์กรเกษตร ในเขตดังกล่าวให้มีความเข้มแข็ง สามารถ

                  ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งในด้านปัจจัยการผลิตที่มีราคาค่อนข้างสูงและคุณภาพของปัจจัย
                  การผลิตที่ต้องอยู่ในระดับที่ดี เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช และกิ่งพันธุ์ ปัญหาหนี้สินของ
                  เกษตรกรซึ่งมีผลต่อการลงทุนของเกษตรกร การควบคุมคุณภาพของผลผลิต การจัดการตลาดที่จะรับซื้อ

                  ผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นระบบ
                                  2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง มีเนื้อที่ 1,263,890 ไร่
                  หรือร้อยละ 33.66 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตนี้ถูกกำหนดให้เป็นเขตการเกษตร ซึ่งลักษณะดินที่พบ
                  ในที่ลุ่มส่วนใหญ่เป็นดินลึกมาก มียสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายน้ำเลวถึง
                  ปานกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการทำนา ส่วนบริเวณที่เป็นที่ดอนมีสภาพพื้นที่ตั้งแต่ราบเรียบ

                  หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ลักษณะดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึง
                  ดีปานกลาง การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีการปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย
                  โรงงาน มันสำปะหลัง เป็นต้น บางพื้นที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์เพียงพอ เกษตรกรจะใช้พื้นที่เพื่อทำนา

                  ปลูกพืชผัก และไม้ผล ได้แก่ ไม้ผลผสม มะม่วง มะนาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการปลูกไม้ยืนต้น เช่น
                  สัก ยางพารา มะขาม สะเดา เป็นต้น ผลการประเมินความเหมาะสมของดินทางกายภาพในเขตนี้อยู่ใน
                  ระดับความเหมาะสมปานกลางถึงสูงต่อการปลูกพืช ซึ่งอาจมีข้อจำกัดบางประการในการใช้ที่ดิน
                  พื้นที่เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตได้เป็น 7 เขต

                  ตามศักยภาพและความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
                                    (1)   เขตทำนา (หน่วยแผนที่ 221) มีเนื้อที่ 819 ไร่ หรือร้อยละ 0.02
                  ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินที่พบเป็นดินลึกปานกลางถึง
                  ลึกมาก มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลาง

                  ถึงสูง เขตนี้กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก เกษตรกรสามารถ
                  เปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการปลูกข้าวมาเป็นการทำเกษตรผสมผสาน ทำเกษตรอินทรีย์ได้
                                    (2)   เขตปลูกพืชไร่ (หน่วยแผนที่ 222) มีเนื้อที่ 876 ไร่ หรือร้อยละ
                  21.16 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างเรียบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

                  ดินที่พบเป็นดินลึกถึงลึกมาก มีการระบายน้ำดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง
                  สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น พื้นที่เขตนี้
                  กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่ หากมีแหล่งน้ำในไร่นาเกษตรกรสามารถเปลี่ยนการใช้

                  ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ได้
                                    (3)   เขตปลูกไม้ผล (หน่วยแผนที่ 223) มีเนื้อที่ 267,037 ไร่ หรือร้อยละ
                  7.11 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
                  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลางถึงสูง สภาพการใช้ที่ดิน
                  ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล ซึ่งไม้ผลที่พบมากคือมะม่วง ส้มโอ และกล้วยไข่ เป็นต้น

                  ไม้ยืนต้นผสม หรือพืชผัก พื้นที่เขตนี้มีศักยภาพปานกลางถึงสูงสำหรับปลูกไม้ผลหรือพืชผัก สามารถ
                  ปรับเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน
                                    (4)   เขตปลูกไม้ยืนต้น (หน่วยแผนที่ 224) มีเนื้อที่ 920,135 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 24.50 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร ในเขตนี้สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198