Page 186 - Chumphon
P. 186

5-4





                  ปัญหาดินถล่ม หรือเกิดการชะล้างพังทลายของดิน ดังนั้น จึงต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ในเขตนี้

                  ให้กลับมาเป็นสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ต่อไป
                                        ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
                                        เนื่องจากพื้นที่ในเขตนี้ดินถูกเกษตรกรบุกรุกและจับจองเพื่อการทำ

                  เกษตรกรรมต่อเนื่องมานาน จึงมีปัญหาเรื่องสิทธิทำกินของเกษตรกรในพื้นที่ แต่จากการที่รัฐบาลมีแนว
                  ทางการแก้ปัญหาที่ดินทำกินของราษฎรในเขตป่าไม้ ดังนั้นการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ต้องดำเนินการ
                  ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
                  โดยพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายและป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาลมีมติ
                  ยืนยันที่ไม่นำพื้นที่ดังกล่าวไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ให้กรมป่าไม้ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครอง

                  พื้นที่ดังกล่าวให้ชัดเจนและให้ใช้แผนที่ทางอากาศของกรมแผนที่ทหารเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
                  พิสูจน์การครอบครอง โดยมีเงื่อนไขคือ
                                          กรณีราษฎรเข้าอยู่อาศัย และทำกินก่อนวันสงวนหวงห้ามเป็น

                  พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก ให้กรมป่าไม้จัดทำขอบเขตบริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้ชัดเจน
                  ห้ามขยายพื้นที่เพิ่มเติมและรับรองสิทธิที่ดินตามกฎหมาย แต่ถ้าพื้นที่ดังกล่าวเสี่ยงต่อการคุกคามระบบ
                  นิเวศ ต้องช่วยเหลือให้ราษฎรมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินแห่งใหม่ หรือย้ายออกไปอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม
                  โดยรัฐบาลจะสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคและการฝึกอาชีพ โดยพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้

                  ดำเนินการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่าต่อไป
                                          กรณีราษฎรอาศัยอยู่หลังวันสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ตาม
                  กฎหมายครั้งแรก ให้ กรมป่าไม้เคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปอาศัยในพื้นที่รองรับที่จัดไว้
                  โดยมีการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการรับรองสิทธิในที่ดินตาม

                  กฎหมาย หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ทันทีให้ควบคุมมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่ม โดยจะต้องจัด
                  ระเบียบที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้ดำเนินการ
                  ฟื้นฟูด้วยการปลูกป่าต่อไป
                                          ในกรณีที่จำเป็นต้องจัดทำขอบเขตบริเวณที่ทำกินให้กับราษฎร

                  ตามผลการตรวจสอบพิสูจน์การครอบครองในพื้นที่เขตนี้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรหามาตรการ
                  ในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพิเศษ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและลักษณะทางกายภาพ
                  ของดินเป็นดินตื้น

                                          นอกจากนี้ยังมีแผนและมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า
                  (พ.ศ. 2551-2555) และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 โดยให้มีโครงการจัดการ
                  ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2551-2552
                                  2) เขตป่าเศรษฐกิจ มีเนื้อที่ 464,952 ไร่ หรือร้อยละ 12.38 ของพื้นที่
                  จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตนี้กำหนดไว้เพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้และของป่า โดยจัดทำในรูปแบบของป่า

                  ชุมชนเพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้และของป่า หรือให้หน่วยงานของรัฐ
                  ดำเนินการปลูกป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือให้ภาคเอกชนทำการปลูกป่าในบริเวณป่าเสื่อมโทรม
                  โดยที่พื้นที่ในเขตนี้เป็นบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติเฉพาะบริเวณเขตพื้นที่ที่เป็นป่าเศรษฐกิจตามมติ

                  คณะรัฐมนตรีเรื่องการจำแนกเขตการใช้ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและบริเวณเขต
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191