Page 185 - Chumphon
P. 185

5-3





                  อนุรักษ์ ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ ต่อมามีการบุกรุกพื้นที่

                  โดยการตัดต้นไม้เพื่อใช้ประโยชน์และนำที่ดินมาใช้ด้านเกษตรกรรมในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อดินเสื่อมสภาพลง
                  ผลผลิตทางการเกษตรกรรมเริ่มลดลงจนไม่คุ้มกับการลงทุน เกษตรกรที่ครอบครองที่ดินก็ปล่อยให้เป็น
                  ที่รกร้าง แต่เนื่องจากพื้นที่นี้มีลูกไม้ของพันธุ์ไม้ดั้งเดิม ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและปรับสภาพได้ระดับหนึ่ง

                  ถ้าไม่มีการรบกวนพื้นที่ดังกล่าวโดยเฉพาะการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม สภาพป่าที่เสื่อมโทรม
                  สามารถฟื้นตัวขึ้นมาเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ได้อีกครั้ง พื้นที่เขตนี้พบบริเวณทางตะวันตกและด้านตะวันออก
                  ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                                        แนวทางการพัฒนา
                                        - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่

                  30 มิถุนายน 2541 ให้ความเห็นชอบกับ “มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินพื้นที่ป่าไม้และ
                  ให้ดำเนินการต่อไป” โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เช่น อุทยานแห่งชาติ
                  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ

                  ชั้นที่ 2 กำหนดให้กรมป่าไม้สำรวจพื้นที่ที่มีการครอบครองให้ชัดเจน
                                        - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
                  16 กันยายน 2540 เรื่อง “แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่” เพื่อให้เกิดการบริหาร
                  จัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้อย่างมีระบบโดยเป็นการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสงวน

                  รักษาทรัพยากรป่าไม้ที่เหลืออยู่และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมสภาพ ทั้งนี้ อยู่บนหลักการลดปัญหา
                  ความขัดแย้งการใช้ทรัพยากรในพื้นที่
                                        - ใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองและอนุรักษ์
                  พื้นที่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุม ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ เพื่อนำ

                  กลับมาใช้เพื่อการเกษตรกรรมอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยมีบทลงโทษตามกฎหมายที่กำหนดไว้
                                        - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจ
                  เกิดขึ้นได้จากธรรมชาติหรือกิจกรรมจากมนุษย์ เพื่อให้ป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติอย่างรวดเร็ว
                                        - ส่งเสริมและรณรงค์ให้ราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงเห็นคุณค่า

                  ของทรัพยากรป่าไม้ และสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าในพื้นที่
                                    (3)   เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข (หน่วยแผนที่ 113)
                  มีเนื้อที่ 512,631  ไร่ หรือร้อยละ 13.65 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร พื้นที่เขตนี้อยู่ในเขตป่าตามกฎหมาย

                  ดังนั้นมาตรการการใช้ที่ดินดังกล่าวควรเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรการและแนวทางการแก้ไข
                  ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ซึ่งมาตรการการใช้ที่ดินดังกล่าวของเขตนี้
                  อยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ต้องสงวนพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นป่าสมบูรณ์
                  ตามธรรมชาติ ต่อมามีการบุกรุกที่ดิน มีการตัดต้นไม้เพื่อใช้ประโยชน์และนำที่ดินมาใช้ด้านการเกษตรกรรม
                  อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่เกษตรกรใช้พื้นที่เพื่อการปลูกพืชไร่หรือทำไร่เลื่อนลอย

                  แต่เนื่องจากข้อจำกัดของลักษณะทางกายภาพของดินและสภาพภูมิประเทศในเขตนี้ไม่เหมาะสม
                  สำหรับการเกษตรกรรม ทั้งนี้เนื่องจากดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินตื้นหรือสภาพพื้นที่มีความลาดชัน
                  มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามีการใช้พื้นที่อย่างผิดวิธีอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ โดยเฉพาะ
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190