Page 183 - Chumphon
P. 183

บทที่ 5


                                                      แผนการใช้ที่ดิน
                  5.1  เขตการใช้ที่ดิน

                      5.1.1 แผนการใช้ที่ดิน
                            การดำเนินการจัดทำแผนการใช้ที่ดินจังหวัดชุมพร ได้ดำเนินการตามกรอบการทำงาน

                  ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) Guidelines for Land-Use Planning ซึ่งเป็น
                  แนวทางในการวิเคราะห์ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและ
                  การใช้ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียใน
                  การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีทางเลือกที่เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการของสังคม

                  อย่างยั่งยืน (FAO, 1993) การกำหนดแผนการใช้ที่ดินจังหวัดชุมพรครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูล
                  อรรถาธิบายที่สำคัญคือฐานข้อมูลดิน ความเหมาะสมของที่ดิน การใช้ที่ดิน ทรัพยากรน้า ป่าไม้ นโยบาย
                  กฎหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สำคัญ และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ที่มีความละเอียด ถูกต้อง
                  ทันสมัย ผนวกกับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                  เชิงพื้นที่และการใช้ DPSIR Framework (Kristensensen, 2004) ร่วมในการวิเคราะห์จัดทำเพื่อให้
                  แผนการใช้ที่ดินที่กำหนดขึ้นสามารถ นำไปใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางจัดการพื้นที่ได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ การวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับวันข้างหน้านั้น มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่จำเพาะ
                  เจาะจง ซึ่งกำหนดขึ้นโดยความต้องการของสังคมและนโยบายของจังหวัดชุมพร การวางแผนการใช้ที่ดิน

                  จะต้องวางแผนให้เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การวางแผนการใช้ที่ดินที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
                  ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุดยั่งยืน และรวมระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                  มีจุดมุ่งหมายคือ 1) ประเมินความต้องการในปัจจุบันและอนาคต และกำหนดรูปแบบการประเมิน

                  ความเหมาะสมของที่ดินที่จะสนองต่อความต้องการ 2) แยกแยะหรือแจกแจงข้อขัดแย้งระหว่าง
                  การใช้ที่ดินต่างประเภทกัน 3) วิเคราะห์หาทางเลือกการใช้ที่ดินที่คงทนถาวร ทางเลือกเหล่านี้จะต้องเป็น
                  ทางเลือกที่ 4) ดีที่สุดที่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ 5) วางแผนให้สามารถเกิดความต้องการ
                  เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และ 6) เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดมาก่อน (บัณฑิต, 2535) ดังนั้น แผนการใช้ที่ดิน
                  ของจังหวัดชุมพร มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

                  สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ จัดสรรทรัพยากรที่ดี และเกิดผลกระทบต่อ
                  สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยนำฐานข้อมูลทรัพยากรดินและสมบัติของดิน การประเมินคุณภาพที่ดิน
                  (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548ก; 2548ข; 2548ค; และ 2548ง) พื้นที่รับน้ำชลประทาน

                  (กรมชลประทาน, 2558) เขตป่าไม้ (กรมป่าไม้, 2559) เขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์
                  ป่า (กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2559) เขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ของสำนักงานปฎิรูปที่ดิน
                  เพื่อเกษตรกรรม (2556) ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดล้อม (2536) และที่ราชพัสดุ นำมาใช้ในการกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินใน

                  ภาพรวมของจังหวัดชุมพร เพื่อขยายผลสู่ปฏิบัติระดับตำบลได้ ต่อไป
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188