Page 90 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 90

4-8





                          2.2  เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง มีเนื้อที่ 1,935,629 ไร่ หรือร้อยละ 28.63

                  ของเนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนในการเพาะปลูก ดินมีความเหมาะสม
                  ปานกลางถึงสูง ส าหรับการท าการเกษตร แต่อาจมีข้อจ ากัดบางประการในการใช้ที่ดิน บริเวณที่มี
                  สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีการเพาะปลูกข้าว พื้นที่ดอน ปลูกพืชไร่ไม้ผลและไม้ยืนต้น มีชั้นความ

                  เหมาะสมในการปลูกพืชสูง (S1) ถึงปานกลาง (S2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถ
                  แบ่งได้เป็น 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตท านา เขตปลูกพืชไร่ เขตปลูกไม้ผล และเขตปลูกไม้ยืนต้น โดยมี
                  รายละเอียดดังนี้
                              1) เขตท านา มีเนื้อที่ 1,043,098 ไร่ หรือร้อยละ 15.43 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ในเขตนี้เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนรข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวถึง

                  ดินร่วน เป็นดินลึก มีการระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง บางบริเวณเป็น
                  ดินที่ดอน มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งถึงดินร่วนหยาบ เป็นดินลึก ที่มีการท าคันนาเพื่อใช้เพาะปลูกข้าว
                  ดินมีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับการท านา สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันเป็นนาข้าว พื้นที่เขตนี้

                  ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกข้าวโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ส่วนใหญ่พบในทุกอ าเภอของ
                  จังหวัด และพบมากในอ าเภอบางระก า อ าเภอบางกระทุ่ม และอ าเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา

                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลด
                  ความเสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง
                                (2) คัดเลือกข้าวพันธุ์ดี และมีราคาสูงในการเพาะปลูก
                                (3) ควรปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด

                  หรือไถกลบตอซัง เพื่อเพิ่มความสามารถการดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของดิน ร่วมกับการใช้
                  ปุ๋ยเคมี
                                (4) ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการใช้ที่ดินในรูปแบบเกษตรผสมผสาน
                  ตามแนวทางทฤษฎีใหม่และเกษตรพอเพียง โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น

                  และนาข้าวร่วมกัน

                              2) เขตปลูกพืชไร่ มีเนื้อที่ 589,969 ไร่ หรือร้อยละ 8.73 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินร่วนละเอียดถึง
                  ดินร่วนหยาบ เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ปานกลาง มีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับการปลูกพืชไร่ สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่

                  เป็นพืชไร่ เช่น พืชไร่ผสม ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง และสับปะรด พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขต
                  เกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่ที่อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ส่วนใหญ่พบในทุกอ าเภอของจังหวัด และพบมาก
                  ในอ าเภอบางระก า อ าเภอวังทอง อ าเภอวัดโบสถ์ และอ าเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ
                  เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95