Page 95 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 95

4-13





                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                (1) ควบคุมระบบนิเวศน์มลภาวะด้านกลิ่น เสียง และน้ าเสีย ไม่ให้รบกวนและ
                  ส่งผลกระทบต่อชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
                                (2 )  ควบคุมและป้องกันโรคระบาดอย่างใกล้ชิดและเข้มงวด ปฏิบัติตาม

                  ค าแนะน าของทางราชการอย่างเคร่งครัด
                                (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการท าปศุสัตว์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                          2.5   เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้่า มีเนื้อที่ 3,505 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่เขตนี้
                  ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมประเภทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า เช่น ปลา ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ใน
                  ทุกอ าเภอของจังหวัดพิษณุโลก ยกเว้นอ าเภอเนินมะปราง และพบมากสุดที่อ าเภอบางระก า และอ าเภอ

                  เมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ควบคุมมลพิษทางน้ าจากสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ าโดยการจัดท าระบบ

                  การบ าบัดน้ าเสียที่ถูกต้อง และควบคุมการระบายน้ าเสียอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสกปรกของน้ า
                  ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ าสาธารณะ
                                (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                        3. เขตชุมชนและอุตสาหกรรม
                          มีเนื้อที่ 369,977 ไร่ หรือร้อยละ 5.47 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่เขตนี้เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้

                  ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ สถานีรถไฟ
                  สนามบิน สถานีขนส่ง ถนน โรงงานอุตสาหกรรม และเหมืองแร่ ซึ่งเขตชุมชนและอุตสาหกรรม สามารถ
                  แบ่งได้เป็น 2 เขตย่อย  คือ
                          3.1  เขตชุมชน มีเนื้อที่ 355,081 ไร่ หรือร้อยละ 5.25 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ หมู่บ้าน

                  ตัวเมืองและย่านการค้า สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ สถานีรถไฟ สนามบิน สถานีขนส่ง สถานีบริการ
                  น้ ามัน สุสาน ถนน รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                              รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                              (1) เร่งแก้ไขปัญหาขยะและน้ าเสียของชุมชน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                  และสุขภาพของประชาชน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นและกระจายอย่างทั่วถึง
                              (2) ส่วนที่เป็นชุมชนชนบท ไม้ผลผสมในหมู่บ้านควรพัฒนากระบวนการผลิตไม้ผล
                  และพืชผัก โดยส่งเสริมการผลิตพืชปลอดสารพิษ เพิ่มศักยภาพการผลิตโดยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
                  ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วในพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนการ

                  ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ตลอดจนการพัฒนาบ่อน้ าในไร่นาสนับสนุนการปลูกไม้ผล ปลูกพืชสวนผสมและ
                  พืชผัก ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
                              (3) ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ภาคเอกชน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

                  ตระหนักถึงความส าคัญของการวางผังเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท าผังเมืองรวม
                              (4) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างมี
                  ประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นบังเกิดผลพลอยได้ที่ตามมา เช่น
                  การท่องเที่ยวการบริหารจัดการพัฒนาและอนุรักษ์
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100