Page 85 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 85

4-3





                  ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีต่อส่วนรวมเพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและรักษาสภาพ

                  ป่าไม้

                              3) เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้เงื่อนไข  มีเนื้อที่ 465,716 ไร่ หรือร้อยละ 6.89
                  ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้ส่วนใหญ่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา ความลาดชันมากกว่า 35
                  เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เหมาะสมส าหรับการท าเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกท าลายป่าเพื่อท าการเกษตรกรรม
                  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ท านาข้าว ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ มันส าปะหลัง และสับปะรด ไม้ผล เช่น

                  กล้วย มะม่วง มะขาม และล าไย ไม้ยืนต้น ปาล์มน้ ามัน ยางพารา และยูคาลิปตัส ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา
                  การชะล้างพังทลายของดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องเร่งรัดด าเนินการฟื้นฟูให้มีสภาพเป็นป่าไม้
                  ด้วยการปลูกป่าทดแทนโดยเร็ว เพื่อให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร พื้นที่เขตนี้

                  ส่วนใหญ่จะพบการกระจายและแทรกอยู่ในเขตคุ้มครองสภาพป่า
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) แก้ไขการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยใช้มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดิน
                  ในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 อย่างเข้มงวด พร้อมกับการให้ความรู้แก่ชุมชน

                  เพื่อมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและรักษาสภาพป่าไม้โดยมีแนวทางการด าเนินงาน ดังนี้
                                  -  ส ารวจถือครองพื้นที่ป่าไม้ และขึ้นทะเบียนบุคคล เพื่อได้ฐานข้อมูลการใช้
                  ที่ดินป่าไม้ทั้งหมดว่าใครเป็นผู้ครอบครอง ใช้ท าประโยชน์อย่างไร รวมทั้งต าแหน่งที่ตั้งของที่ดิน
                                  -  ตรวจสอบพิสูจน์การครอบครองของชุมชน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ

                  (ถ้าไม่มีให้ใช้ภาพดาวเทียม) ซึ่งถ่ายภาพพื้นที่นั้นไว้เป็นครั้งแรก หลังวันประกาศสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่
                  ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก
                                  -  กรณีผลการตรวจพิสูจน์ พบว่าชุมชนอยู่อาศัยและท ากินมาก่อนวันประกาศ
                  สงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ ให้จัดท าขอบเขตที่อยู่อาศัย ที่ท ากินให้ชัดเจน และด าเนินการตามกฎหมาย

                  ให้ชุมชนอยู่อาศัยท ากินตามความจ าเป็น ถ้าที่อยู่อาศัยและที่ท ากินเป็นพื้นที่ล่อแหลมและคุกคาม
                  ระบบนิเวศและการป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์ ให้พิจารณาช่วยเหลือหาที่อยู่อาศัยและที่ท ากินใหม่ ตลอดจน
                  ส่งเสริมอาชีพ และรับรองสิทธิในที่ดิน

                                  -  กรณีผลการตรวจพิสูจน์ พบว่าชุมชนอยู่อาศัยและท ากินหลังวันประกาศ
                  สงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ ให้เคลื่อนย้ายชุมชนออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เตรียมแผนการรองรับ
                  ในพื้นที่เหมาะสม ส่งเสริมอาชีพและพิจารณารับรองสิทธิในที่ดิน ถ้าเคลื่อนย้ายออกไม่ได้ ให้ด าเนิน
                  การควบคุมไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมเด็ดขาด จัดระเบียบที่อยู่อาศัย ที่ท ากินให้พอเพียงกับการด ารงชีพ
                                  -  จัดท าแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน และท าแนวเขตควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการ

                  บุกรุกขยายที่ท ากินเพิ่มเติม
                                  -  ในกรณีที่จ าเป็นต้องจัดท าขอบเขตที่ท ากินให้กับชุมชน ควรมีมาตรการ
                  ด้านการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเป็นพิเศษ

                                (2) ปลูกป่าทดแทนและฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อรักษาระบบนิเวศบริเวณพื้นที่สูงชันโดยให้
                  ชุมชนมีส่วนร่วม
                                (3) บริเวณพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ควรมีการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
                  เช่น การปลูกหญ้าแฝก และท าฝายชะลอน้ า เป็นต้น
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90