Page 83 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 83

บทที่ 4


                                                    แผนการใช้ที่ดิน




                  4.1  แผนการใช้ที่ดิน

                        แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก เป็นแผนการใช้ที่ดินที่จัดท าขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้ที่ดินเพื่อ
                  การเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมกับศักยภาพดิน สามารถเพิ่ม
                  ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรข้างเคียง เป็นการผสมผสาน

                  ระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนาให้มีการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
                  สังคมและสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                        ซึ่งแผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก ได้จากการวิเคราะห์สถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
                  ด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม รวมถึง
                  สภาวะด้านเศรษฐกิจ-สังคม ตลอดจนข้อกฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐทั้งในระดับประเทศ
                  และระดับท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก โดยวิธีการก าหนดหลักเกณฑ์ และสร้างเงื่อนไขในการก าหนด

                  เขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพและก าลังผลิตของพื้นที่ ภายใต้หลักการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและตามแนว
                  เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้แผนการใช้ที่ดินสามารถเป็นกรอบและแนวทางในการจัดท าแผนพัฒนาพื้นที่
                  ด้านการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยก าหนดเขตการใช้ที่ดินของพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
                  ออกเป็น 5 เขตหลัก ได้แก่ เขตป่าไม้ เขตเกษตรกรรม เขตชุมชนและอุตสาหกรรม เขตแหล่งน้ า และ
                  เขตพื้นที่อื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 4-1 และรูปที่ 4-1)

                        1. เขตป่าไม้
                          มีเนื้อที่ 3,324,998 ไร่ หรือร้อยละ 49.18 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้อยู่ในเขต และ
                  นอกเขตป่าตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

                  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตวนอุทยาน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี พื้นที่
                  ลุ่มน้ าชั้น 1 และพื้นที่ลุ่มน้ าชั้น 2 ที่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ ป่าเสื่อมโทรมรอสภาพฟื้นฟู ไม้ละเมาะ
                  ทุ่งหญ้าและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงบริเวณที่ป่าถูกบุกรุกเพื่อท าการเกษตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรการหรือ
                  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของที่ดินหรือทรัพยากรป่าไม้ สามารถก าหนดเขตพื้นที่ป่าไม้
                  ได้ 3 เขตย่อย ได้แก่ เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และเขตคงสภาพป่านอกเขตป่าตาม
                  กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

                        1.1  เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ 2,810,859 ไร่ หรือร้อยละ 41.58 ของเนื้อที่จังหวัด
                  พื้นที่ในเขตนี้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง น้ าตกชาติตระการ ภูสอยดาว และภูหินร่องกล้า
                  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ ถ้ าผาท่าพล และหนองน้ าขาว
                  เขตวนอุทยานเขาพนมทอง เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซน C) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่

                  เตรียมประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่ลุ่มน้ าชั้น 1 และ
                  พื้นที่ลุ่มน้ าชั้น 2 เป็นเขตที่ก าหนดไว้เพื่อต้องการรักษาพื้นที่และคงสภาพป่าไม้ไว้ เพื่อการรักษาคุณภาพ
                  ของลุ่มน้ าให้เป็นแหล่งต้นน้ าล าธารป้องกันภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากน้ าท่วมและการพังทลายของดิน
                  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติด้านดิน น้ า พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนรักษา
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88