Page 78 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 78

3-28





                                   (2) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 25 แห่ง ประกอบด้วย สถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิต

                  เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 แห่ง สถานประกอบการอุตสาหกรรมประเภทสี/คัดแยก/อบ/เก็บรักษา
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 22 แห่ง และสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ 2 แห่ง
                                   (3) ยางพารา 19 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดประมูลยางพารา 13 แห่ง สถาน

                  ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปยางแผ่น ยางแท่ง 3 แห่ง สถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปไม้
                  ยางพารา 2 แห่ง และสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปยางมะตอย 1 แห่ง
                                   (4) อ้อยโรงงาน 1 แห่ง ได้แก่ สถานประกอบการอุตสาหกรรมน้ าตาล 1 แห่ง
                                   ส าหรับตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่ประกอบกิจการในรูปแบบสหกรณ์ของ
                  จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งหมด 70 แห่ง จ าแนกเป็น สหกรณ์การเกษตร 67 แห่ง และสหกรณ์นิคม 3 แห่ง


                          3.2    การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ

                                ข้าวเจ้านาปี การผลิตข้าวเจ้านาปีของจังหวัดพิษณุโลกมีการบริหารจัดการที่ดีไม่มี
                  ผลผลิตส่วนเกิน แต่เกษตรกรที่ท าการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะได้รับผลขาดทุนจากการผลิต จึงควร
                  สนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน รวมถึงมีความสอดคล้องกับนโยบาย

                  ภาครัฐในเรื่องการลดพื้นที่ปลูกข้าว
                                ยางพารา ข้าวโพดเลี ยงสัตว์และอ้อยโรงงาน ถึงแม้ว่าจะสามารถขยายการผลิตได้
                  เพิ่มขึ้นแต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมยางพาราไม่ควรส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการเพิ่มผลผลิต เนื่องจาก
                  พื้นที่ปลูกยางพาราบางส่วนไม่มีเอกสารสิทธิ์/บุกรุกพื้นที่ป่า ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายทวงคืนพื้นที่

                  ป่าส าหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงานควรเน้นประเด็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ
                  และคุณภาพของผลผลิต
                                มะม่วงน  าดอกไม้ การผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้ของเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกมีปริมาณ

                  ความต้องการใช้มากกว่าปริมาณของผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เนื่องจากตลาดในยุโรปและตลาดในประเทศ
                  แถบเอเชียยังมีความต้องการจ านวนมาก ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้
                  โดยเน้นการผลิตมะม่วงคุณภาพดีและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อขยายปริมาณการผลิตส าหรับ
                  รองรับการขยายการส่งออกรวมถึงพัฒนาการผลิต โดยการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการ
                  ผลิตเพิ่มขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่/สหกรณ์ ส่งเสริมการตลาดใน

                  รูปแบบเกษตรพันธะสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการตลาด และควรส่งเสริมและสนับสนุนให้
                  เกษตรกรผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้ให้ออกนอกฤดู
                                กล้วยน  าว้า ผู้ประกอบการแปรรูปกล้วยน้ าว้าภายในจังหวัดพิษณุโลกมีความต้องการ

                  ใช้ผลผลิตกล้วยน้ าว้ามากกว่าปริมาณผลผลิตกล้วยน้ าว้า ดังนั้นจึงมีแนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกใน
                  จังหวัดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจท าให้ในอนาคตประสบปัญหาผลผลิตกล้วยน้ าว้าล้นตลาดและราคา
                  ตกต่ า เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการรองรับการขยายตัวควรเน้นสนับสนุนให้เกษตรกร
                  เกิดการรวมกลุ่ม ทั้งด้านการผลิตและการตลาดในรูปแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมการตลาดในรูปแบบเกษตร

                  พันธะสัญญา เน้นผลิตสินค้า Premium รวมถึงเป็นสินค้าผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต ส่งเสริมให้
                  ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยน้ าว้า รวมทั้งน าเทคโนโลยีการผลิต/
                  การป้องกันโรค/แมลง ศัตรูพืช มาประยุกต์ใช้
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83