Page 74 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 74

3-24





                                      ยางพารา พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.21 และ

                  18.59 ต่อปี เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์
                  ทางเศรษฐกิจทั้งของโลกและของไทยประสบปัญหาท าให้ความต้องการยางพาราลดลงแต่ผลผลิต
                  ยางพาราของไทยมีเป็นจ านวนมากเกินความต้องการส่งผลกระทบให้ราคายางพาราตกต่ าโดยลดลงเฉลี่ย

                  ร้อยละ 20.00 ต่อปี
                                      อ้อยโรงงาน พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.47 และ 8.82
                  ต่อปี อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความผันผวนของพื้นที่เพาะปลูกค่อนข้างมากซึ่งจะส่งผลกระทบ
                  ต่อปริมาณผลผลิตด้วย ช่วงที่ผ่านมาราคาอ้อยโรงงานที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 39.29 ต่อปี
                  ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้ของอ้อยโรงงานจะผันแปรไปตามคุณภาพหรือความหวาน ดังนั้นหากอ้อย

                  มีความหวานมากราคาอ้อยก็จะสูงตามไปด้วย ทั้งนี้เกษตรกรที่จะท าการผลิตอ้อยได้จะต้องเป็นเกษตรกร
                  ที่มีโควตาการส่งอ้อยกับโรงงานน้ าตาล และต้องจดทะเบียนชาวไร่อ้อยกับส านักงานคณะกรรมการอ้อย
                  และน้ าตาลทรายตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ าตาลทราย พ.ศ. 2527

                                      มันส าปะหลัง พื้นที่เพาะปลูกมันส าปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44 ต่อปี
                  แต่ผลผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.36 ต่อปี สาเหตุมาจากราคาผลผลิตตกต่ าท าให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจใน
                  การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรเท่าที่ควร ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 3.19 ต่อปี
                                      มะม่วง พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมะม่วงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 และ 3.97

                  ต่อปี ในส่วนที่ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.19 ต่อปี เนื่องจากเกษตรกรเน้นการผลิต
                  มะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก ซึ่งตลาดในยุโรปและตลาดในประเทศแถบเอเชียยังมีความต้องการ
                  จ านวนมาก
                                      กล้วยน  าว้า พื้นที่เพาะปลูกกล้วยน้ าว้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 ต่อปี แต่ผลผลิต

                  ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.37 ต่อปี สาเหตุส าคัญที่ท าให้พื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเกษตรกรปลูกทดแทน
                  การท านาข้าวประกอบกับมีพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ แต่ในช่วงที่ผ่านมาจังหวัดพิษณุโลกประสบปัญหา
                  ภัยแล้งจึงท าให้ผลผลิตลดลง ในส่วนราคาที่เกษตรกรขายได้เป็นราคาค่อนข้างดีและเหมาะสม ถึงแม้ว่า
                  จังหวัดพิษณุโลกจะมีชื่อเสียงในเรื่องกล้วยตากของอ าเภอบางกระทุ่ม แต่ผู้ประกอบโรงงานแปรรูปกล้วย

                  ตากของจังหวัดกับรับซื้อวัตถุดิบกล้วยสดจากเกษตรกรที่ผลิตในพื้นที่เพียงร้อยละ 10 ในส่วนที่เหลือ
                  ร้อยละ 90 ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปกล้วยจะรับซื้อจากเกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
                  นครสวรรค์ ก าแพงเพชร สุโขทัย และพิจิตร
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79