Page 72 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 72

3-22





                                 2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดพิษณุโลก (Gross Provincial Product, GPP)

                                   “ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด” (Gross Provincial Products; GPP) หมายถึง
                  จ านวนรายได้จากกิจกรรมการผลิตของจังหวัด โดยแสดงในหน่วย บาท ขนาดเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก
                  GPP ณ ราคาประจ าปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่ารวม 86,958 ล้านบาท โดยเป็น GPP ภาคเกษตร = 22,105

                  ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 25.42% ของ GPP ทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก (ส านักงานคลัง
                  จังหวัดพิษณุโลก ณ กันยายน 2561) สัดส่วนโครงสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรจังหวัด
                  พิษณุโลก ดังนี้ การเพาะปลูกพืชคิดเป็น 81% ของโครงสร้างมูลค่า GPP เกษตร (17,905 ล้านบาท)
                  การเพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่เป็น ข้าวนาปี นาปรัง มีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ประมาณ 27% ยางพารา
                  สัดส่วน 20% มันส าปะหลังสัดส่วน 10% ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงานมีสัดส่วนประมาณ 7-8 %

                  ปศุสัตว์ 9% ของโครงสร้างมูลค่า GPP เกษตร (1,989 ล้านบาท) บริการการเกษตร/ป่าไม้ 7% ของ
                  โครงสร้างมูลค่า GPP เกษตร (1,548 ล้านบาท) ประมงประมาณ 3% ของโครงสร้างมูลค่า GPP เกษตร
                  (663 ล้านบาท) (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2, 2562)

                                   เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคนของจังหวัดพิษณุโลก
                  จ าแนกตามประเภทกิจกรรมซึ่งแบ่งออกเป็นภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการ
                  จะเห็นได้ว่าโดยภาพรวมรายได้ทางเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในภาคการบริการเป็นหลักคิดเป็น
                  ร้อยละ 64.7 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคนของจังหวัด รองลงมาคือรายได้จากกิจกรรมในภาค

                  การเกษตรคิดเป็นร้อยละ 25.8 ส่วนภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.5 โดยอัตราการ
                  เติบโตเฉลี่ยต่อปี (Long term Growth) ค านวณตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2559 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.4
                  ต่ ากว่าอัตราการขยายตัวของประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัด
                  พิษณุโลกของส านักงานคลังจังหวัดพิษณุโลก ณ กันยายน 2561)

                               จากการพิจารณาข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคนของจังหวัดพิษณุโลกในเบื้องต้นจะเห็น
                  ว่า พิษณุโลกเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพพื้นฐานที่น่าสนใจ โดยกิจกรรมหลักในพื้นที่จะเน้นไปที่ภาคบริการ
                  และภาคเกษตร ซึ่งอาศัยศักยภาพพื้นฐานหลักของจังหวัดที่มีศักยภาพในด้านการเกษตร และด้าน
                  การท่องเที่ยว เป็นส าคัญ


                                 3) การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
                                   จากรายงานการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่ส าคัญจังหวัดพิษณุโลก
                  ของส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2560 สามารถน ามาสรุปได้ดังนี้
                                   จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตร 3,059,059 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
                  นา 1,779,292 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.16 ของพื้นที่ท าการเกษตร รองลงมาเป็นพื้นที่ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผล/

                  ไม้ยืนต้น พื้นที่ปลูกพืชผัก/ไม้ดอกไม้ประดับ และพื้นที่อื่นๆ ตามล าดับ โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 3-8
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77