Page 67 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 67

3-17





                  2. การประเมินคุณภาพที่ดิน


                        การประเมินคุณภาพที่ดินเป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากรที่ดินต่อการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมินคุณภาพที่ดินในหลักการของ
                  FAO Framework สามารถท าได้ 2 รูปแบบ
                            รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการประเมินเชิง
                  กายภาพเท่านั้น ว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ

                            รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูป
                  ผลผลิตที่ได้รับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                          ในที่นี้ได้ประเมินเฉพาะรูปแบบแรก คือ การประเมินทางด้านคุณภาพว่ามีความเหมาะสม

                  ตามข้อก าหนดคุณภาพที่ดินอย่างไรต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ
                        2.1  การก าหนดคุณภาพที่ดิน
                              คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework
                  ได้ก าหนดไว้ทั้งหมด 25 ชนิด ในที่นี้น ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดโดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล

                  ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต ตลอดจนชนิด
                  ของพืช และความต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirements) ดังนั้นคุณภาพที่ดิน
                  (Land Qualities) ที่น ามาใช้มีดังนี้
                              1) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                  ตัวแทน ได้แก่ ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปี และคุณสมบัติเนื้อดิน
                              2) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability) คุณลักษณะ
                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ ไป รากพืชต้องการ
                  ออกซิเจนในขบวนการหายใจ

                              3) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability) คุณลักษณะที่ดินที่
                  เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่
                  แลกเปลี่ยนได้ และปฏิกิริยาของดิน

                              4) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยด่าง
                              5) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  ได้แก่ ความลึกของดิน
                              6) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                  ความลาดชันของพื้นที่
                                  7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                  ค่าการน าไฟฟ้าของดิน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72