Page 111 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 111

5-11





                  ส าหรับปลูกพืชไร่ พื้นที่ในเขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่ในเขตนี้อาศัยน้ าฝน

                  เป็นหลัก สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น สับปะรด ข้าวไร่ แตงโม และบางพื้นที่ปลูก
                  พืชไร่ร่วมกับไม้ยืนต้น เช่น สับปะรด/ยางพารา  สับปะรด/ปาล์มน้ ามัน พื้นที่เขตนี้จะมีลักษณะแบบ
                  กระจายตัวอยู่ทางตอนตอนล่างของอ าเภอคุระบุรี และอ าเภอท้ายเหมือง ตอนกลางของอ าเภอกะปง

                  อ าเภอตะกั่วป่า และอ าเภอเมืองพังงา กระจายอยู่ทั่วทั้งอ าเภอตะกั่วทุ่ง ยกเว้นอ าเภอทับปุด และอ าเภอ
                  เกาะยาว
                                  รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่ม
                  ธาตุอาหาร และปรับโครงสร้างของดิน

                                (2) ควรท าการเพาะปลูกพืชในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะส าหรับพืช
                                (3) ปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และลักษณะทางกายภาพ
                  ของดินที่เหมาะสมส าหรับการปลูกพืช โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ซึ่งช่วยใน

                  การปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
                                (4) ด าเนินการพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กในพื้นที่เขตนี้ รวมทั้งการปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพแหล่งน้ าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ล าคลองสาธารณะ ให้มีการกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น

                              3)  เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 5,473 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพ
                  ภูมิประเทศจะมีตั้งแต่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบจนไปถึงเนินเขา มีความลาดชันมากกว่า 35

                  เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินทรายร่วน และ
                  ดินร่วนทราย การระบายน้ าดีถึงเลว ความอุดมสมบูรณ์ดินต่ า บางบริเวณเป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง
                  ชั้นหินพื้นซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบรากพืช มีความเหมาะสมเล็กน้อยหรือไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกไม้ผล
                  สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ผลผสม ทุเรียน เงาะ

                  มะพร้าว กล้วย มังคุด ลางสาด ลองกอง พื้นที่เขตนี้จะกระจายอยู่ทั่วในทุกอ าเภอของจังหวัดพังงา
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้

                  ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ร่วมกับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อป้องกัน
                  การชะล้างพังทลายของดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก
                                (2) พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยควบคุมกระบวนการผลิตไม้ผลให้ถูกต้องตามระบบ
                  GAP จัดการดิน และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดินและปุ๋ย
                  โปรแกรมดินไทย และธาตุอาหารพืช รวมถึงการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้องปลอดภัย

                                (3) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา
                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลดความ
                  เสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง

                                (4) ควรท าทางระบายน้ าบริเวณที่เป็นที่ค่อนข้างลุ่ม เพื่อไม่ให้น้ าท่วมขัง
                                (5) ควรส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรแต่ละสายการผลิต
                  เพื่อให้มีการอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ปรับปรุงกระบวนการ และขั้นตอนการผลิต
                  เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพ และผลผลิตให้สูงขึ้น
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116