Page 109 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 109

5-9





                  มีความเหมาะสมระดับปานกลางถึงสูงส าหรับการปลูกไม้ผล บางบริเวณเป็นที่ลุ่มซึ่งมีการจัดการพื้นที่ใน

                  รูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาน้ าท่วม เช่น การท าคันดิน การยกร่องและการพูนโคน เป็นต้น สภาพ
                  การใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ไม้ผลผสม ส้ม ทุเรียน ทุเรียน/กล้วย ทุเรียน/มังคุด เงาะ
                  เงาะ/มะพร้าว เงาะ/มังคุด มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ กล้วย มังคุด ลางสาด ลองกอง มะนาว พื้นที่เขตนี้

                  จะมีลักษณะแบบกระจายตัวทั่วทุกอ าเภอในจังหวัดพังงา
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้
                  ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ร่วมกับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดิน และน้ าเพื่อป้องกัน
                  การชะล้างพังทลายของดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก

                                (2) ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ การผลิตพืชปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี โดย
                  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
                                (3) พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยควบคุมกระบวนการผลิตไม้ผลให้ถูกต้องตามระบบ

                  GAP จัดการดิน และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดิน และปุ๋ย
                  โปรแกรมดินไทย และธาตุอาหารพืช รวมถึงการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้องปลอดภัย
                                (4) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เช่น บ่อน้ าขนาดเล็กในไร่นา
                  รวมทั้งปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืชเพื่อลดความ

                  เสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง
                                (5) ควรท าทางระบายน้ าบริเวณที่เป็นที่ค่อนข้างลุ่ม เพื่อไม่ให้น้ าท่วมขัง
                                (6) ควบคุมคุณภาพ และสารตกค้างของผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ส่งออกต่างประเทศ

                                (7) ควรส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรแต่ละสายการผลิต
                  เพื่อให้มีการอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ปรับปรุงกระบวนการ และขั้นตอนการผลิต
                  เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพ และผลผลิตให้สูงขึ้น

                              4) เขตปลูกไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 434,202 ไร่ หรือร้อยละ 16.66 ของเนื้อที่จังหวัด
                  สภาพภูมิประเทศจะมีตั้งแต่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบจนไปถึงเนินเขา มีความลาดชันมากกว่า 35

                  เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินร่วนปนทรายแป้ง
                  ดินทรายร่วน และดินร่วนทราย เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึงเลว ความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงสูง มีความเหมาะสมระดับปานกลางถึงสูงส าหรับการปลูกไม้ผล บางบริเวณเป็น
                  ที่ลุ่มซึ่งการจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาน้ าท่วม เช่น การท าคันดิน การยกร่อง
                  และการพูนโคน เป็นต้น สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม้ยืนต้น เช่น ไม้ยืนต้นผสม ยางพารา

                  ปาล์มน้ ามัน สนประดิพัทธ์ กระถิน หมาก จามจุรี กฤษณา ตะกู บางพื้นที่ปลูกร่วมกันกับไม้ผล เช่น
                  ปาล์มน้ ามัน/ไม้ผลผสม ปาล์มน้ ามัน/เงาะ  ปาล์มน้ ามัน/มะพร้าว  ปาล์มน้ ามัน/กล้วย และปาล์มน้ ามัน/
                  มังคุด พื้นที่เขตนี้จะกระจายอยู่ทั่วในทุกอ าเภอของจังหวัดพังงา

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก
                  ปุ๋ยหมัก หรือผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114