Page 107 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 107

5-7





                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนาในเขตเกษตรกรรมชั้นดี

                              (1) ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้
                  ปุ๋ยเคมีซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยร่วมกับการจัดท าระบบอนุรักษ์ดิน และน้ าเพื่อป้องกัน
                  การชะล้างพังทลายของดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดิน เช่น การปลูกหญ้าแฝก

                                (2) พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยควบคุมกระบวนการผลิตไม้ผลให้ถูกต้องตามระบบ
                  GAP จัดการดิน และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดินและปุ๋ย โปรแกรม
                  ดินไทย และธาตุอาหารพืช รวมถึงการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้อง และปลอดภัย
                              (3) ใช้พืชพันธุ์ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ
                                (4) ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ การผลิตพืชปลอดสารพิษ เพื่อลดการใช้สารเคมี

                  ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าของ
                  ผลผลิต
                                (5) พัฒนาแหล่งน้ าเพิ่มเติม เช่น บ่อน้ าขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้ง

                  ปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรมชาติ ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น เพื่อใช้ส าหรับปลูกพืช ลดความเสียหายจากกรณี
                  ฝนทิ้งช่วง หรือปริมาณน้ าต้นทุนมีน้อย ระบบชลประทานไม่สามารถส่งน้ าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่
                  ติดดอกและออกผล
                                (6) ปรับปรุงโครงสร้างของระบบการส่งน้ าให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน

                  ได้ตลอดเวลา โดยการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทาน และขุดลอกคูคลองส่งน้ าต่างๆ ให้สามารถส่งน้ า
                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                (7) ควรท าทางระบายน้ าบริเวณที่เป็นที่ค่อนข้างลุ่ม เพื่อป้องกันน้ าท่วมขัง
                              (8) ควบคุมคุณภาพ และสารตกค้างของผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด

                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ส่งออกต่างประเทศ
                              (9) สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ในการลดต้นทุน
                  การผลิต โดยการปรับปรุงพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                              (10)  ควรมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร

                  เพื่อก าหนดรูปแบบ และระยะเวลาของการเพาะปลูก โดยการก าหนดปฏิทินการปลูกพืชให้สอดคล้องกับ
                  ปริมาณน้ าต้นทุนของแต่ละปี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ าในการเพาะปลูก อุปโภค และบริโภค

                          2.2  เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง มีเนื้อที่ 476,655 ไร่ หรือร้อยละ 18.29
                  ของเนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนในการเพาะปลูก ดินมีความเหมาะสม
                  ปานกลางถึงสูง ส าหรับการท าการเกษตร แต่อาจมีข้อจ ากัดบางประการในการใช้ที่ดิน บริเวณที่มี

                  สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีการเพาะปลูกข้าว พื้นที่ดอน ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีชั้นความ
                  เหมาะสมในการปลูกพืชสูง (S1) ถึงปานกลาง (S2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถ
                  แบ่งได้เป็น 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตท านา เขตปลูกพืชไร่ เขตปลูกไม้ผล และเขตปลูกไม้ยืนต้น โดยมี

                  รายละเอียดดังนี้
                              1) เขตท านา มีเนื้อที่ 9,126 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ในเขตนี้
                  เป็นพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
                  แป้งถึงดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินร่วนปนทรายแป้ง และดินร่วนทราย เป็นดินลึกมาก
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112